Page 25 - ThaiVersion
P. 25

ณ อพาร์ทเมนท์ของนายเบนนี่ กู้ดแมน (Benny Goodman) ที่มหานครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นข่าวปรากฏตามสื่อต่างๆ
            ในช่วงทศวรรษเดียวกัน พระองค์ได้ทรงดนตรีแจ๊สกับตำานานดนตรีแจ๊สอย่าง สแตน เก็ตซ์ (Stan Getz) ไลโอเนล

            แฮมพ์ตัน    (Lionel Hampton) และเบนนี่ คาร์เตอร์ (Benny Carter)  ในปี 1987 แฮมพ์ตันกล่าวไว้ในบทความ
            นิตยสารสวัสดี  (Sawasdee  Magazine)  ของไทยว่า  “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เท่ห์
            และทรงเปี่ยมด้วยความสามารถที่สุดในแผ่นดินนี้”



            ความสำาเร็จของพระองค์ในฐานะที่ทรงเป็นนักประพันธ์เพลงแจ๊สได้รับการยอมรับในปี  1964  โดยสถาบันดนตรีและ
            นาฏศิลป์แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งพระองค์ทรงดำารงตำาแหน่งในฐานะสมาชิกกิตติมศักดิ์ และยังทรงเป็นนักประพันธ์เอเชีย
            คนแรกที่ได้รับตำาแหน่งอันทรงเกียรตินี้  ในขณะที่โลกเริ่มก้าวเข้ามาสู่บันไดหน้าประตูของประเทศไทยในปี  1960
            ชาวต่างชาติได้พบและสัมผัสถึงเสน่ห์ของอนุสรณ์สถานและพิธีกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพระราชวงศ์  เช่น  พระบรม

            มหาราชวัง               พระที่นั่งวิมานเมฆ พระราชวังสวนผักกาด (the Suanpakkad Palace) ซึ่งเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวจำานวน
            มากเดินทางไปเยี่ยมชม เมื่อเร็วๆนี้ นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเยี่ยมชมพระบรมมหาราชวังได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์สิ่งทอของ
            สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่แสดงตัวอย่างแฟชั่นฉลองพระองค์     ชุดผ้าไหมไทยอันสวยงามที่สมเด็จ
            พระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ทรงสวมใส่ในอดีต ซึ่งฉลองพระองค์ส่วนใหญ่นั้น ออกแบบและตัดเย็บโดยดีไซเนอร์ชั้นนำาของโลก



            นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวยังมีความปิติยินดีที่ได้เข้าร่วมในพระราชพิธีที่เกี่ยวข้องกับพระราชวงศ์ เช่น พิธีสวนสนามของ
            ทหารรักษาพระองค์ (The Trooping of the Colors) ในเดือนธันวาคม และ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัล
            แรกนาขวัญ (The Ploughing Ceremony) ในเดือนพฤษภาคม ได้กลายมาเป็นกิจกรรมประจำาในปฏิทินการท่องเที่ยว

            อย่างไรก็ดี พระราชพิธีที่งดงามตระการตาที่สุดคือ  พระราชพิธีพยุหยาตราชลมารค (The Royal Barge Ceremony)
            เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงเสด็จพระราชดำาเนินถวายผ้าพระกฐิน ด้วยกระบวนพยุหยาตรา ซึ่งประกอบด้วยกระบวนเรือ
            ลงรักปิดทองงดงามทั้งสิ้น จำานวน 52 ลำา โดยชลมารคไปตามแม่น้ำาเจ้าพระยา ณ วัดอรุณราชวราราม เพื่อถวายผ้า
            พระกฐินแด่พระภิกษุสงฆ์ หลังจากสิ้นสุดการเข้าพรรษา (Buddhist Lent) เป็นเวลา 3 เดือน นักท่องเที่ยวจำานวนมาก

            ได้ทำาการเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เรือพระราชพิธี  (The  Royal  Barge  Museum)  ณ  คลองบางกอกน้อย  โดยเรือ
            พระที่นั่งของกษัตริย์ที่สำาคัญจะถูกเก็บไว้ ณ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ นอกจากนี้ เมืองสุโขทัยและอยุธยา ซึ่งเป็นเมืองโบราณ
            ที่เรืองอำานาจของพระราชวงศ์ในอดีต ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีอยู่ในรายการปฏิทินการท่องเที่ยวอีกด้วย



            ในขณะที่ภาพลักษณ์ของพระราชวงศ์ผงาดโดดเด่นปรากฏตามสื่อข่าวต่างประเทศมากมาย การทรงงานของพระราชวงศ์
            อย่างเงียบๆ  ที่อยู่เบื้องหลังภาพข่าวเหล่านี้มีอิทธิพลอย่างมากมาโดยตลอด  เป็นเวลามากกว่า  60ปีแล้ว  ที่นักท่อง
            เที่ยวรับรู้ว่า  ครอบครัวชาวนาไทยเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจแห่งชาติ  การทำาความเข้าใจเกี่ยวกับครอบครัว
            ชาวนาไทย  จำาเป็นต้องใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง  โดยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงงานกับ

            ครอบครัวชาวนาเหล่านี้ เพื่อปรับปรุงเทคนิคการเพาะปลูก การคิดค้นพันธุ์พืชใหม่ๆ และการทำาฝนหลวงเพื่อให้พื้นที่
            นาอุดมสมบูรณ์ มีปริมาณน้ำาฝนเพียงพออยู่เสมอ  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (philosophy of self-sufficiency)
            ของพระองค  ได้เผยแผ่ออกไปอย่างกว้างขวางทั่วทั้งสังคมไทย  เฉกเช่นเดียวกันกับระลอกคลื่นบนบ่อน้ำาอันไหลเรียบ
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเริ่มงานในปี 1951 โดยทรงรับสั่งให้กรมประมงนำาเข้าพันธุ์  ปลานิล (mossambica

            fish) จากปีนัง ผ่านองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UN’s Food and Agriculture Organization)
            พระเจ้าอยู่หัวทรงเพาะพันธุ์ปลาเหล่านี้ในบ่อที่ทรงรับสั่งให้ขุดเป็นพิเศษ ณ พระราชวังจิตรลดา (Chitralada Palace)
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30