Page 29 - ThaiVersion
P. 29

(Bottom Lines) ของพวกเขา ชีวิตที่สงบสุขควรจะเป็นผลตอบแทนจากการลงทุนของเวลา เงินและพลังงาน ความเป็น
            อันหนึ่งอันเดียวกันของสังคมเพื่อประโยชน์ของทุกคน เป็นหลักการที่สำาคัญที่สุด งานของมูลนิธิส่วนมากจะดำาเนินการที่

            ศูนย์ศึกษาการพัฒนาในพระราชดำาริ (Royal Development Study Centres) ทั้งหมด  6 แห่งทั่วทั้งประเทศ ศูนย์
            เหล่านี้ช่วยให้เกษตรกรสามารถขยายและประยุกต์ใช้ความรู้ในการประกอบเกษตรกรรมแบบยั่งยืน โครงการพัฒนาใน
            พระราชดำาริต่างๆ ดำาเนินการภายใต้สำานักงานคณะกรรมการพัฒนาโครงการหลวง (กปร.) ระหว่างปี 1981 และ 2014
            สำานักงาน กปร. ได้อนุมัติการดำาเนินโครงการมากกว่า 4,600 โครงการ โดยที่เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำาจำานวน

            3,031 โครงการ การพัฒนาเกษตรกรรม 165 โครงการ การพัฒนาสิ่งแวดล้อม 159 โครงการ การส่งเสริมการสร้าง
            อาชีพ 325 โครงการ การสาธารณสุข 55 โครงการ การคมนาคมและการสื่อสาร 77 โครงการ การประชาสงเคราะห์
            และการศึกษา 395 โครงการ และโครงการสำาหรับกิจกรรมแบบบูรณาการและอื่น ๆ  จำานวน 240 โครงการ



            ฟาร์มต่างๆ ในโครงการพระราชดำาริทั่วประเทศ ยังใช้เป็นสถานีทดลองการปลูกและขยายพืชพันธุ์ใหม่ เพื่อให้ได้มาซึ่ง
            รสชาติและผลที่ดีที่สุด  ก่อนที่จะนำาไปแจกจ่ายเกษตรกรเพื่อทำาการเพาะปลูกต่อไป  นอกจากนี้  ผักและผลไม้อินทรีย์
            จากฟาร์มยังถูกจัดจำาหน่ายให้กับบริษัท การบินไทย จำากัด รวมทั้งโรงแรมขนาดใหญ่ต่างๆ เช่น โรงแรมโอเรียนทอล
            (The  Oriental  Hotel)  รับซื้อผักปริมาณ  90%  ของผักทั้งหมดที่ภัตตาคารใช้ปรุงอาหารจากฟาร์มในโครงการ

            พระราชดำาริ รายได้ที่ได้จากการขาย นำาไปใช้เป็นทุนสนับสนุนโครงการด้านการศึกษา


            หนึ่งในนวัตกรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ล้ำาหน้ามากที่สุด คือการพัฒนาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระ
            บามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล  ทรงบรรยายวิสัยทัศน์ของพระองค์ครั้งแรกแก่พสกนิกรชาวไทยในปี  1974  แต่หลัง

            จากการล่มสลายทางการเงินของเอเชียในปี  1997  ทำาให้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ได้รับความสนใจมาก
            ยิ่งขึ้น ปรัชญานี้อ้างถึงหลักทางสายกลางของพระพุทธศาสนา โดยการจำากัดความทะเยอทะยาน และตั้งอยู่บนความ
            ต้องการพื้นฐาน  ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงได้ตรัสไว้ว่า “ การเป็นเสือไม่สำาคัญ สำาคัญอยู่ที่ว่าเราจะ
            ต้องมีเศรษฐกิจพอเพียง  เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึง  การมีอย่างพอเพียงเพื่อสนับสนุนชีวิตของเรา  ...เราจะต้องก้าว

            ถอยกลับไปอย่างระมัดระวัง...หมู่บ้านหรืออำาเภอ ตำาบลแต่ละแห่ง จะต้องมีหลักเศรษฐกิจพอเพียง”


            ในการที่จะทำาให้ความพอเพียงด้านการเกษตรกรรมบรรลุผลสำาเร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ทรงอธิบายเกี่ยว
            กับ “ทฤษฎีใหม่” ของการเกษตรกรรมแบบผสมผสาน ด้วยทฤษฎีนี้ ชาวนาไทยสามารถ  ฝ่าฟันความเปลี่ยนแปลง

            และความไม่แน่นอนที่มีผลต่อการกำาหนดลักษณะชีวิตการเกษตรได้  พวกเขาได้รับการสนับสนุนให้ศึกษากลไกการ
            ตลาดที่มีผลต่อราคาพืชผล นอกจากนี้ ยังเน้นการผลิตเพียงพอที่จะบริโภค และที่เหลือจากการบริโภคแล้ว จึงนำาไป
            ขาย  ในการเพาะปลูกพืช  ชาวไร่ชาวนาต้องพิจารณาเกี่ยวกับการเพราะปลูกและอัตราผลตอบแทน  นอกจากนี้  พวก
            เขาต้องคิดเกี่ยวกับการพัฒนา และ การอนุรักษ์แหล่งน้ำา  การอนุรักษ์ดิน การพัฒนาชุมชนพึ่งตนเอง และการเกษตร

            รอบปี (year-round farming) จุดมุ่งหมายคือ การเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พื้นที่เกษตรกรรม


            ตามกรอบทฤษฎีใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงแนะนำาให้ทำาการแบ่งที่ดินออกเป็น สี่ส่วน ตามอัตราส่วน
            30: 30: 30: 10 ด้วยอัตราส่วนนี้ 30% จัดไว้สำาหรับสร้างบ่อเก็บน้ำาฝน เพื่อรดน้ำาพืชผล และเลี้ยงปลา อีก 30% จัด

            ไว้สำาหรับการปลูกข้าว และ 30% จัดไว้สำาหรับการปลูกผลไม้และ ไม้ยืนต้น รวมทั้งผักต่างๆ พืชไร่และสมุนไพรต่างๆ
            สำาหรับการบริโภคในชีวิตประจำาวัน และ 10% สุดท้ายจัดไว้สำาหรับการสร้างบ้าน โรงเรือนและที่เก็บผลผลิต การเลี้ยง
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34