Page 34 - ThaiVersion
P. 34

สร้างชื่อเสียงไทยให้ก้องไกลไปทั่วโลก




            ถึงแม้จะมีจำานวนนักท่องเที่ยวมากมายเข้ามายังประเทศไทยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา แต่ตัวเลขนักท่องเที่ยวที่แท้จริง
            ได้ลดลงในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1950  ผลจากสงครามโลกครั้งที่ 1  ทำาให้การท่องเที่ยว การเดินทางรวมถึงเรือสำาราญ
            จากยุโรปและอเมริกาเหนือที่ล่องมายังเอเซีย และวิถีชีวิตของผู้คนทั่วไปได้หยุดชะงักลง



            ในปี  ค.ศ.  1920  ได้เริ่มเห็นความรุ่งเรืองของการท่องเที่ยวในยุโรปเนื่องจากการเติบโตของรถยนต์และถนนที่ทำาให้
            การเดินทางข้ามประเทศในแถบนั้นง่ายขึ้น  ในประเทศไทย  การขาดแคลนถนนทำาให้การเดินทางมายังกรุงเทพมี
            เพียงแค่ทางเรือและรถไฟเท่านั้น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำาทั่วโลกในปี ค.ศ. 1930 ยังส่งผลต่อตัวเลขด้านการท่องเที่ยว
            สงครามโลกครั้งที่ 2 ยังส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำาวันของผู้คน ในขณะที่สงครามทางทะเลได้ทำาให้การขนส่งระหว่าง

            ประเทศหยุดชะงักรวมไปถึงผลด้านความปลอดภัยที่กระทบต่อเรือสำาราญจากยุโรป


            แต่การเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การเพิ่มขึ้นของรายได้และการจ้างงานส่งผลให้มีความต้องการ
            ทางด้านการท่องเที่ยวและการพักผ่อน  การท่องเที่ยวของชาวตะวันตกได้เริ่มกลับมาอีกครั้ง  การเดินทางไกลข้าม

            ประเทศเริ่มมีมากขึ้นซึ่งเป็นผลจากค่าโดยสารทางเครื่องบินที่ถูกลง  ทำาให้การเดินทางไปยังต่างประเทศสามารถทำาได้
            มากขึ้นและได้ขยายไปสู่จุดหมายใหม่ๆ  เพิ่มขึ้นทุกปีและได้จุดประกายให้นักเดินทางเข้าไปค้นพบประสบการณ์ใหม่ๆ
            ในยุคแรก ญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์คือจุดหมายปลายทางหลักแต่ภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็นประเทศไทย



            การท่องเที่ยวเริ่มเข้าสู่ศักยภาพแห่งการเติบโตอย่างแท้จริง ทำาให้สองผู้นำาคนสำาคัญที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลได้สร้างกลไก
            เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตนี้ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น (ปี ค.ศ. 1957-1963) ได้เล็งเห็น
            ถึงสถานการณ์เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของโลกที่เติบโตมากขึ้นจึงเห็นว่าประเทศไทยควรจะใช้โอกาสนี้ให้เป็น
            ประโยชน์ และได้ดึงพลเอกเฉลิมชัย จารุวัสตร์ เข้ามาร่วมเป็นผู้นำาในภารกิจนี้ โดยมีหน้าที่เสาะหาแหล่งท่องเที่ยวป้อน

            ตลาด  ความร่วมมือนี้ได้สร้างรากฐานที่สำาคัญในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ
            ขึ้นมา อาทิเช่น โรงแรม การฝึกอบรมบุคลากร และบริการด้านคมนาคม เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่นักท่องเที่ยว


            ในวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1960 องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการท่อง

            เที่ยวไทยไปสู่สากล และในปี ค.ศ. 1963 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ซึ่งเน้นการโปรโมท
            ในเรื่องแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมไทยและทัศนียภาพที่สวยงามรวมถึงกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆ


            ความสำาเร็จจากการก่อตั้งหน่วยงานการท่องเที่ยวของพลเอกเฉลิมชัย  จารุวัสตร์  เป็นที่น่าประทับใจเป็นอย่างยิ่งซึ่ง

            ท่านได้เปลี่ยนสำานักงานแห่งแรกของ ททท. ที่สนามเสือป่าให้กลายเป็นสำานักงานโฆษณาประเทศไทยแบบเสมือนจริง
            กำาแพงด้านหนึ่งคือภาพของแผนที่ประเทศไทยที่แสดงสถานที่ท่องเที่ยวที่สำาคัญ เพียงแค่กดปุ่มเปิดไฟ นักท่องเที่ยวจะ
            ได้เห็นสถานที่ต่างๆอย่างเสมือนจริง  ถัดไปคือชั้นวางโบรชัวร์  ซึ่งในระยะแรก  บริษัทเชลล์เป็นผู้จัดทำาและแจกจ่ายให้
            ฟรี ซึ่งมีรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ  ชั้นวางอื่นๆเต็มไปด้วยโปสการ์ดแจกฟรี
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39