Page 37 - ThaiVersion
P. 37

ภาพลักษณ์ของเมืองไทยได้เปลี่ยนแปลงอีกครั้งในคราวที่ อาภัสรา หงสกุล ในตอนนั้นมีอายุ 18 ปี ได้รับตำาแหน่ง
            นางงามจักรวาลในปี ค.ศ. 1965 รัฐบาลไทยได้กล่าวว่าชัยชนะของเธอในครั้งนี้ได้เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจ 10 ประการ

            และได้สร้างชื่อเสียงรวมทั้งความสนใจให้กับประเทศไทย ทำาให้เธอได้กลายเป็นทูตโปรโมทการท่องเที่ยวกิตติมศักดิ์


            การท่องเที่ยวทางกามารมณ์ไม่ได้เป็นภาพที่พลเอก  เฉลิมชัย  คิดไว้ในใจในขณะที่ได้พยายามสร้างภาพลักษณ์ที่
            อ่อนช้อย  งดงามและมีคุณค่าทางวัฒนธรรมให้ปรากฎในสายตาต่างชาติ  ภาพลักษณ์ทางลบเช่นนี้เป็นสิ่งที่ผิดแผก

            ไปจากแผนการและจำาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฟื้นฟูภาพลักษณ์การท่องเที่ยวและความเข้าใจที่ถูกต้อง   สอดคล้องกับ
            วัฒนธรรมอันสวยงามของไทยให้กลับมาอีกครั้ง


            ทิศทางการท่องเที่ยวไทยได้เปลี่ยนแปลงอีกครั้งหลังจากการสิ้นสุดของสงครามและการถอนตัวของกองกำาลังทหารจีไอ

            (GIs) ในปี ค.ศ. 1970 รัฐบาลได้แสวงหากิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่โดยได้โปรโมทการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
            เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ๆเข้ามามากขึ้น  ในที่สุด  สุนทรีย์ของการท่องเที่ยวไทยได้กลับคืนมาอีกครั้งในรูปแบบ
            ทีถูกต้อง และทำาให้การ “นวด” เป็นการนวดเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริงไม่ใช่เป็นการนวดในเชิงเซ็กส์ ในที่สุด เมืองไทย
            ได้เริ่มสร้างการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากขึ้น  และสปานวดแผนไทยซึ่งประกอบไปด้วยการนวดในหลายรูปแบบใช้เวลา

            หนึ่งถึงสองชั่วโมงโดยประมาณ


            ในช่วงปี  ค.ศ.  1960  นักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่จะเป็นพวกทหารอเมริกันหรือบรรดานักธุรกิจและมีเพียงส่วนน้อยที่
            เดินทางมาเป็นครอบครัวหรือเป็นหรือแม้แต่นักท่องเที่ยวผู้หญิงที่เดินทางท่องเที่ยวคนเดียวนั้นแทบหาได้น้อยมากใน

            สมัยนั้น ปี ค.ศ. 1970 ได้มีนักท่องเที่ยวในสองกลุ่มนี้มากขึ้นซึ่งทำาให้ภาคการท่องเที่ยวได้ปรับตลาดเพื่อเอาใจบรรดา
            นักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่เหล่านี้


            นอกจากนี้ในช่วงปี ค.ศ. 1960 ได้เริ่มมีนักท่องเที่ยวในกลุ่มวัยรุ่น (หรือคนไทยกลุ่มที่แอนตี้จะเรียกว่า“ฮิปปี้”) ได้

            เดินทางเข้ามาและมักจะพักตามแหล่งโรงแรมราคาถูก  ชอบท่องเที่ยวเองโดยไม่พึ่งทัวร์ไกด์และบรรดาเอเจนซี่นำาเที่ยว
            ยกเว้นแต่ในเรื่องการจองตั๋วเครื่องบิน   คนไทยในตอนนั้นยังไม่แน่ใจว่าควรจะรับมือกับนักท่องเที่ยวแบ็คแพคที่ดูไม่
            ค่อยสะอาดเรียบร้อยนี้อย่างไรดี  อย่างไรก็ดี  รัฐบาลไทยได้จุดประกายความคิดที่จะตอบสนองกับนักท่องเที่ยวเหล่านี้
            เพราะถึงแม้ว่า เขาจะยังไม่มีเงินที่จะพักตามโรงแรมห้าดาวได้ แต่ถ้าเขามีความประทับใจที่ดีต่อการท่องเที่ยวไทย ใน

            อนาคตที่เขามีศักยภาพการจ่ายที่เพิ่มขึ้น เขาจะต้องกลับมาพร้อมครอบครัวและพาไปท่องเที่ยวตามที่ต่างๆ เช่นในตัว
            เมือง ชายหาดหรือภูเขา อย่างแน่นอน


            ในช่วงปี ค.ศ. 1990 นักท่องเที่ยวเหล่านี้ได้ขยับขึ้นมาเป็นแฟลชแพ็กเกอ (Flashpackers) หรือ นักท่องเที่ยวแบบแบ๊ค

            แพคที่มีกำาลังจ่ายสูง และได้เข้ามาท่องเที่ยวเป็นเวลานานซึ่งจากเดิมนักท่องเที่ยวแบบแบ๊คแพคจะใช้เวลาประมาณ 1
            สัปดาห์ (หรือตามเท่าที่ได้รับวีซ่า)แต่นักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่มักใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์เหมือนกลุ่มทหารจีไอในยุค
            60 ซึ่งนิยมใช้เวลาของการพักผ่อนไปกับกิจกรรมที่อัดแน่นและยอมจ่ายเพื่อได้รับประสบการณ์ที่สนุกและคุ้มค่า



            การประชาสัมพันธ์สินค้า
            หลังจากที่เมืองไทยเป็นที่รู้จักในบรรดานักท่องเที่ยว  จึงเป็นเรื่องที่สำาคัญที่จะต้องพัฒนาและแสวงหาแหล่งท่องเที่ยว
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42