Page 39 - ThaiVersion
P. 39

สาขาภายในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำานักงานที่ให้บริการภายในโรงแรม ในขณะเดียวกัน ได้ขยายเครือข่ายไปยังเอ

            เจนซี่ในต่างประเทศอีกด้วย


            ประเทศไทยยังได้รับการสนับสนุนจากองค์กรการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ  สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งภูมิภาค
            เอเชีย-แปซิฟิคหรือ พาต้า (PATA) คือหน่วยงานหลักในการสนับสนุน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นใน ปี ค.ศ. 1951

            โดยสายการบินแพน แอม (Pan Am) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นองค์การการท่องเที่ยวของรัฐ สายการบิน บริษัท
            ท่องเที่ยว  โรงแรม  ร้านอาหาร  และธุรกิจเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอื่นๆ  ทั่วโลก  โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการ
            ส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในภูมิภาคและบรรดาสมาชิก  และสิ่งที่ได้รับความสนใจจากสาธารณะคือการจัดประกวดสื่อ
            ประชาสัมพันธ์ประจำาปี  เช่น  โปสเตอร์  บทความในแมคกาซีน  ภาพยนตร์โปรโมท  และสื่อประชาสัมพันธ์ด้านการ

            ท่องเที่ยวต่างๆ   ที่แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละที่   ซึ่งนับว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผล
            ประโยชน์จากพาต้าในภารกิจด้านนี้ ปัจจุบัน สำานักงานใหญ่ของพาต้าตั้งอยู่ที่กรุงเทพ และได้รับการยอมรับในฐานะ
            เป็นองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวสำาคัญในภูมิภาพ



            ในปี ค.ศ. 1960 มีเพียงหน่วยงานการท่องเที่ยวที่ช่วยให้คำาแนะนำานักท่องเที่ยว แต่ในช่วงปี ค.ศ. 1970 – 1980
            ร้านหนังสือได้จัดจำาหน่ายคู่มือการท่องเที่ยวอย่างหลากหลายไล่ตั้งแต่นิตยสาร  Fodor  ไปจนถึงคัมภีร์ท่องเที่ยวของ
            นักท่องเที่ยวแบคแพคอย่าง  Lonely  Planet  สายการบินได้ตีพิมพ์นิตยสารซึ่งบรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรม
            ไทย แหล่งท่องเที่ยว และนิสัยใจคอของคนไทย ซึ่งแต่งโดย เดนนิส เกรย์ (Denis Gray) จอห์น ฮอสสกิน (John

            Hoskin)  ฮาโรลด์ สตีเฟ่น (Harold Stephens) และ บิล วอเรน (Bill Warren)  และในที่สุดนิตยสาร Travel
            and Leisure ในต่างประเทศ และอื่นๆ ได้เริ่มเผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับความสวยงามของชายหาดในไทย วัฒนธรรม
            และแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจซึ่งช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก



            การท่องเที่ยวแบบเป็นหมู่คณะได้เริ่มมีมากขึ้นจากการประชาสัมพันธ์โดยสื่อ นิตยสารการท่องเที่ยว เช่น ทีทีจี หรือ
            แทรเวล เทรด กาแซ็ท เอเชีย (Travel Trade Gazette Asia) เอเซีย แทรเวล เทรด (Asia Travel Trade) และ
            ไทยแลนด์  แทรเวล  เทรด  (Thailand  Travel  Trade)  ได้นำาเสนอเนื้อหาการท่องเที่ยวและแนวโน้มการท่องเที่ยว
            ใหม่ๆในประเทศไทยอยู่เสมอ  บรรณาธิการและนักเขียนอย่าง ดอน รอสส์ (Don Ross) และ สตีฟ แวน บีค (Steve

            Van Beek) มีส่วนสำาคัญในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่และเทรนด์ใหม่ๆ รายการพิเศษทางโทรทัศน์ที่นำาเสนอ
            เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยได้กลายเป็นตัวช่วยในการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางออกจากบ้านมาแสวงหาการผจญภัย


            แน่นอนว่าส่วนหนึ่งที่ทำาให้การท่องเที่ยวไทยเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้น  คือ  การถ่ายทำาภาพยนตร์ต่างๆใน

            ประเทศไทย อาทิ เช่น “เดอะคิงส์แอนด์ไอ” (The King and I) ทั้งสองเวอร์ชั่น “เดอะบริดจ์ออนเดอะริเวอร์แคว”
            (The Bridge on the River Kwai) (ปี 1957 แต่ถ่ายทำาในประเทศศรีลังกา) “อเมริกันอันตราย” (The Ugly
            American) ภาพยนตร์ชุดบอนด์เดอะซีรีส์ตอน “เพชฌฆาตปืนทอง” ซึ่งได้ถ่ายทำาในเขาตะปูในจังหวัดพังงา ซึ่งทำาให้
            เขาตะปูเป็นที่รู้จักโด่งดังไปทั่วโลกในฐานะ “เกาะเจมส์ บอนด์” (James Bond Island) “เดอะบีช” (The Beach)

            “แฮงค์โอเวอร์ภาค 2” (Hangover Part 2) “บันทึกรักเล่มสองของบริดเจ็ท โจนส์” (Bridget Jones: The Edge
            of Reason) “ฤดูแห่งรัก” (The Elephant King) “ข้ามฟ้าหาสูตรรัก” (Bitter/Sweet) เหล่านี้ได้นำาพานักท่อง
            เที่ยวให้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย  และล่าสุด  ภาพยนตร์ชื่อดังของจีน  เรื่อง  “แก๊งม่วนป่วนไทยแลนด์”  (Lost
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44