Page 24 - ThaiVersion
P. 24

คุณูปการของพระราชวงศ์




            พระราชวงศ์ของไทยมีบทบาทที่สำาคัญต่อการสนับสนุนส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ  ก่อนที่
            จะรับรู้ถึงความงดงามของราชอาณาจักรไทย  และสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อน  ในประเทศไทย  ชาวต่างชาติได้รู้จักพระ
            ราชวงศ์ไทยและประเทศไทย โดยเรียนรู้ผ่านทางพระราชวงศ์ เป็นเวลาอันยาวนาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
            เจ้าอยู่หัวฯ (ร.5, 1868 - 1910) เสด็จประพาสเมืองหลวงของยุโรป  โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ  ในระยะแรก พระองค์

            เสด็จประพาสเป็นระยะเวลาเจ็ดเดือน ( 7 เมษายน - 16 ธันวาคม 1897) ทั้งหมด 16 ประเทศ ได้แก่ ประเทศ
            อังกฤษ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก สวีเดน เบลเยียม อิตาลี ออสเตรีย ฮังการี สเปน เนเธอร์แลนด์ โมนาโก โปรตุเกส รัสเซีย
            สวิตเซอร์แลนด์  เยอรมนี  และอียิปต์  พระองค์ทรงได้รับการต้อนรับอย่างเอิกเกริก  และพระบรมฉายาลักษณ์ของ
            พระองค์ปรากฏอยู่บนหน้าปกนิตยสารจำานวนมากมาย  ส่วนหนึ่งที่ได้รับความนิยมชมชอบเป็นอย่างมาก  โดยเฉพาะ

            ในกลุ่มผู้อ่านสุภาพสตรี  คือ  ก่อนที่พระองค์จะเสด็จประพาส  ในปี  1897  พระองค์ทรงประกาศว่า  พระมเหสีของ
            พระองค์  สมเด็จพระราชินีเสาวภา  (Queen  Saovabha)  จะทรงงานในฐานะผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์ในขณะที่
            พระองค์ทรงเสด็จฯ เยือนยุโรป ซึ่งเป็นการถ่ายทอดความประทับใจ โดยที่แสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงเป็นพระมหา
            กษัตริย์ที่มีความทันสมัย



            ในช่วงที่สองของการเสด็จประพาสยุโรป ซึ่งเป็นเวลา 10 ปีต่อมา (27 มีนาคม – 6 พฤศจิกายน 1907) พระองค์ทรงเสด็จ
            เยือนประเทศต่างๆเป็นจำานวนครั้งที่เท่าๆกัน  ในการเสด็จเยือนแต่ละครั้ง พระองค์ทรงสร้างความประทับใจแก่คณะ
            ปฏิคมด้วยการแสดงออกถึงความสุภาพอ่อนโยน  พระมหากรุณาธิคุณและข่าวที่แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวาง

            ส่งผลให้เกิดการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีงาม  ทำาให้ราชอาณาจักรไทยสามารถคงเอกราชไว้ได้  นอกจากนี้  พระโอรสของ
            พระองค์ทั้ง 20 พระองค์ที่ทรงศึกษาเล่าเรียนในเมืองหลวงต่างๆของยุโรป ยังทรงสร้างความประทับใจที่ดีงามอีกด้วย


            การราชาภิเษกสมรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ  ในปี  1950

            ได้รับการพาดหัวข่าวโดยสื่อต่างๆทั่วโลก  พระบรมฉายาลักษณ์ที่ทรงฉายคู่กัน  แสดงให้เห็นถึงการอภิเษกสมรสดั่ง
            เทพนิยาย ปรากฏอย่างสง่างามบนหน้าวารสารต่างๆของโลก ทำาให้ความ    โปรดปรานที่มีต่อประเทศไทยดังก้องไป
            ทั่วแคว้น



            ในช่วงเวลานั้น การดำาเนินกิจกรรมต่างๆ ของทั้งสองพระองค์ ส่งผลให้การท่องเที่ยวมีความเจริญรุ่งเรือง  ในปี 1956
            เบนนี่ กู้ดแมน (Benny Goodman) นักเป่าคลาริเน็ต (clarinet) ผู้มีชื่อเสียง     ได้มาเยือนกรุงเทพมหานคร และ
            ร่วมเล่นดนตรีกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ทรงเป็นนักแซกโซโฟนและนักประพันธ์เพลงแจ๊ส (Jazz) ที่
            ประสบความสำาเร็จ



            ในเดือนมีนาคม ปี 1960  ซึ่งเป็นปีที่ได้มีการจัดตั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (The Tourism Organization of
            Thailand: TOT) พระมหากษัตริย์และพระราชินี ทรงเสด็จเยือนประเทศอินโดนีเซียและสหภาพพม่า หลังจากนั้น 3 เดือน
            ต่อมา (ในเดือนมิถุนายน) ทั้งสองพระองค์เสด็จประพาสทั่วโลก           เป็นระยะเวลา 7 เดือน รวมถึงประเทศสหรัฐอเมริกา

            และ 13 ประเทศในทวีปยุโรป  ในช่วงระหว่างการเสด็จเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา พระมหากษัตริย์ทรงแซกโซโฟน
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29