Page 26 - ThaiVersion
P. 26

หลังจากนั้น  พระองค์ทรงพระราชทานลูกปลานิลเหล่านี้แก่ชาวบ้าน  และทรงมีพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับเทคนิคที่

            เหมาะสมสำาหรับการเลี้ยงปลานิลให้เจริญเติบโต      แก่ชาวบ้านอีกด้วย  ปลานิลจะถูกปล่อยลงไปในนาข้าวช่วงเวลา
            เพาะปลูกและเจริญเติบโตเต็มที่ จากนั้น ปลานิลเหล่านี้จะถูกเก็บขึ้นมาพร้อมกับการเก็บเกี่ยวข้าว ดังนั้นชาวบ้านแทบ
            ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในการได้มาซึ่งแหล่งโปรตีนที่เป็นสารอาหารพื้นฐานของข้าวและปลา ตั้งแต่นั้นมา พระองค์
            ทรงกระจายพันธุ์ปลาได้เป็นล้านๆตัว  ในปี 1965 มกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่นทรงประทานปลานิลพันธุ์ tilapia

            nilotica จำานวน 50 ตัว แด่พระองค์ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ได้ทรงเพาะเลี้ยงและพระราชทานให้กับชาวนา ตั้งแต่บัดนั้น
            เป็นต้นมา


            ในช่วงปลายปี 1960 – 1969 พระองค์ทรงมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการพัฒนาชนบทพื้นที่เนินเขา จังหวัดเชียงใหม่

            พระตำาหนักภูพิงคราชนิเวศน์  (Bhubing  Palace)  ของพระองค์ถูกล้อมรอบด้วยหมู่บ้านชาวเขา  และพระองค์ทรง
            สำารวจพบว่า  ชาวเขาเหล่านี้ดำาเนินชีวิตอย่างยากลำาบากเพราะยากจนและ  ขาดความรู้ด้านเกษตรกรรม  นอกจากนี้
            พระองค์ทรงถูกรบกวนโดยเทคนิคการเพาะปลูกดั้งเดิมของ พวกเขา ชาวเขาเหล่านี้เคยเป็นคนเร่ร่อนในอดีต พวกเขา
            ฝึกทำาการเกษตรกรรมแบบการถางและเผาป่า  (slash-and-burn  agriculture)  ซึ่งทำาให้เนินเขาโล่งเตียน  จากนั้น

            เมื่อความอุดมสมบูรณ์ของดินหมดไป พวกเขาก็ย้ายออกจากที่ดิน ซึ่งทำาให้ดินเกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรง นอกจากนี้
            พระองค์ยังทรงกังวลว่า พวกเขาปลูกพืชเป็นเพียงชนิดเดียวที่พวกเขาคุ้นเคยมากที่สุด นั่นก็คือ ฝิ่น (opium)  แทนที่
            พระองค์จะทรงมุ่งหยุดยั้งกิจกรรมดังกล่าวของพวกเขา  แต่พระองค์ทรงดำาเนินแนวทางเชิงบวก  โดยทรงงานร่วมกับ
            ผู้นำา ชนเผ่า เพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด



            ในปี 1969 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงริเริ่มโครงการเพื่อลดการพึ่งพาการปลูกฝิ่นของชาวเขา โดยทรงแนะนำา
            การปลูกพืชผักและผลไม้ที่นำามาซึ่งผลตอบแทนที่ดีกว่า การเสด็จพระราชดำาเนินของพระองค์จากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีก
            หลายๆหมู่บ้าน อย่างไม่ทรงรู้จักเหน็ดเหนื่อย ทำาให้เกิดการแพร่กระจายความรู้ใหม่ และพระองค์ทรงได้รับการตอบ

            สนองในเชิงบวก  นอกจากนี้  พระองค์ยังทรงรับสั่ง  ให้มีการรวบรวมทีมแพทย์หลวงส่วนพระองค์  เพื่อให้บริการด้าน
            สาธารณสุขในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือด้านการแพทย์อีกด้วย  ณ  ขณะนั้น  โครงการของพระองค์ได้ถูก
            นำาไปขยายผลกับชาวนาในภูมิภาคอื่นๆของประเทศด้วย  เมล็ดพันธุ์พืชที่ได้มีการปรับปรุงพันธุ์  เทคนิคการเพาะปลูก
            แนวใหม่ที่กำาลังได้รับความสนใจ  และกลยุทธ์ทางการตลาด  ทำาให้สามารถยกระดับรายได้ของชาวไร่ชาวนาขึ้นไปอีก

            ระดับหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างถนนเพื่อการขนส่งผลผลิตจากเนินเขาไปสู่ตลาดพื้นที่ต่ำา และยังทรง
            อุทิศพระราชกำาลังในการพัฒนาแหล่งน้ำาต่างๆ และทรงคืนความชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์สู่พื้นที่ไร่นาต่างๆ โดยเฉพาะพื้นที่
            แห้งแล้ง นอกจากนี้ การมุ่งเน้นเกษตรกรรมแนวใหม่ยังกระตุ้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในชนบท เพื่อใช้เป็นทุน
            ในการผลิตอาหารใหม่



            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ที่ดินบริเวณพระตำาหนักจิตรลดารโหฐาน  ณ  ใจกลางกรุงเทพมหานครฯ  เป็น
            สถานีเกษตรทดลอง  เพื่อเป็นการสนับสนุนความพยายามในการพัฒนาชนบทของพระองค์  ผู้คนที่สัญจรบนท้องถนน
            ผ่านริมรั้วพระตำาหนักฯ มักจะประหลาดใจที่ได้เห็นวัวกำาลังแทะเล็มหญ้าในทุ่งเลี้ยงสัตว์บริเวณพระราชวัง  ในโรงงาน

            ที่อยู่ใกล้เคียง  นมวัวได้ถูกนำาไปผลิตเป็นนมอัดเม็ดเพื่อให้สามารถขนส่งอย่างง่ายดายไปยังหมู่บ้านที่ห่างไกล  โดยที่
            ชาวบ้านจะได้รับสารอาหารทั้งโปรตีนและแคลเซียม  ผู้คนอาจได้ยินเสียงร้องของสุกรและไก่ที่อาจเล็ดลอดออกมาจาก
            บริเวณพระราชวัง นอกเหนือจากการทดลองเลี้ยงปลานิล พระองค์ยังทรงทดลองเลี้ยงปลาคาร์พ (carp) ปลาตะเพียน
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31