Page 19 - ThaiVersion
P. 19

ในทำานองเดียวกัน นักเขียนจากหนังสือพิมพ์ เดอะ แฟมิลี่ เฮรัลด์ (the Family Herald) ได้บรรยายไว้ในปีเดียวกัน
            ว่า “ผู้คนได้จับจ่ายซื้อของบนเรือ และในขณะที่ผู้หญิงได้ขายของ บ้านทั้งบ้านจะถูกเปิดออกมา ผู้ชายจะทำาหน้าที่ตก

            ปลา เด็กๆว่ายน้ำาไปมาในบริเวณนั้น”


            สามปีถัดมา กรุงเทพได้มีโอกาสต้อนรับการมาเยือนของราชวงศ์ต่างชาติ ซาเรวิตซ์แห่งรัสเซีย (มกุฎราชกุมาร) ที่ได้
            มาเยือนไทยเป็นเวลาหลายวัน  ซึ่งได้มีบันทึกไว้ว่า  “เราได้รับรู้ถึงไมตรีจิตที่ยิ่งใหญ่แห่งสยามผ่านบันทึกในหนังสือมา

            ช้านาน  แต่ไม่สามารถเทียบได้เลยกับที่เราได้มาประจักษ์และสัมผัสด้วยตนเอง”


            ในปี ค.ศ. 1897 แมกซ์เวล ซอมเมอร์วิลล์ (Maxwell Sommerville) ได้ตกตะลึงกับวิถีชีวิตของชาวสยามที่ใช้แม่น้ำา
            ลำาคลองเป็นเส้นทางสัญจรและอยู่อาศัย “ระหว่างการล่องแม่น้ำาเจ้าพระยาในระยะเวลาหลายชั่วโมง เรือหลายร้อยลำา

            ที่จอดอัดแน่นเบียดเสียดได้บดบังทัศนียภาพไปหมดสิ้น  ยอดแหลมของโบสถ์ได้ปรากฏบนฝั่ง  รอบข้างคือเรือที่สัญจร
            ไปมาอย่างคับคั่งที่เต็มไปด้วยผู้คนทั้งพ่อค้าแม่ค้า  นักดนตรี  ชาวประมง  พระภิกษุสงฆ์  ซึ่งภาพที่ปรากฎทั้งหมดนี้
            ทำาให้เราอดสงสัยไม่ได้ว่าเมื่อไหร่กันที่เราจะผ่านกรุงเทพได้เสียที”



            เมื่อขึ้นศตวรรษที่ 19 กรุงเทพได้กลายเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยว ในปี ค.ศ. 1899 บรรณาธิการของบางกอกไทมส์
            ได้ตั้งข้อสังเกตุเกี่ยวกับสยามว่า  “เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าสยามได้กลายเป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวทั่วโลกซึ่งมีจำานวน
            ที่เพิ่มขึ้นสองถึงสามเท่าต่อวัน”   กรุงเทพยังได้ต้อนรับนักเขียนมากมายในระยะเวลาหลายปี เริ่มจากโจเซฟ คอนราด
            (Joseph Conrad) ที่ได้ใช้ระยะเวลา 1 สัปดาห์ในเดือนมกราคมปี ค.ศ. 1888  นอกจากนี้ยังมี วิลเลียม ซอเมอร์

            เซต มอห์ม (W. Somerset Maugham)ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างบทประพันธ์ระหว่างการเยือนกรุงเทพในปี
            ค.ศ.1923 และการเข้าพักที่โรงแรมโอเรียลเต็ลยังได้ปรากฎในบทประพันธ์เรื่อง The Gentleman in the Parlour:
            A Record of a Journey From Rangoon to Haiphong ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1930



            หลังจากหนังสือท่องเที่ยวของ  เจ  อันโทนิโอในปีค.ศ.1904  ได้มีการจัดทำาหนังสือท่องเที่ยวเล่มที่สองขึ้นโดยอีริค
            ไซเดนฟาเดน (Erik Seidenfaden) ผู้แต่งหนังสือแนะนำากรุงเทพพร้อมบันทึกเกี่ยวกับสยามในปี ค.ศ.1928 (Guide
            to Bangkok with Notes on Siam) ตีพิมพ์โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย  ในช่วงปี ค.ศ. 1960 ได้มีการเกิดขึ้น
            ของหนังสือท่องเที่ยวอย่างมากมาย แต่เล่มที่ได้รับความนิยมที่สุด คือ โลนลี แพลนเน็ต (Lonely Planet) ที่ตีพิมพ์

            ในปี ค.ศ. 1982 ที่มีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับการท่องเที่ยวไทย วิถีชีวิต อาหารการกิน ศิลปะและอีกมากมาย


            ในปี ค.ศ. 1961 ธุรกิจท้องถิ่นได้เข้ามามีบทบาทในการจัดทำาหนังสือนำาเที่ยวที่มีเนื้อหาเจาะลึกในแต่ละด้าน หม่อมเจ้า
            ภีศเดช รัชนี ผู้อำานวยการแผนกส่งเสริมการขายและการโฆษณาของบริษัทเชลล์ แห่งประเทศไทย จำากัด ได้ร่วมมือ

            กับม.ร.ว.ถนัดศรี  สวัสดิวัตน์  จัดทำาคู่มือแนะนำาร้านอาหารภายใต้ชื่อ  “เชลล์ชวนชิม”  ซึ่งถือเป็นคัมภีร์ที่แนะนำาร้าน
            อาหารอร่อยทั่วทั้งกรุงเทพและในเมืองไทยมาตลอดระยะเวลากว่า 50 ปี  คู่มือนี้ได้จัดทำาขึ้นเป็นภาษาไทยโดยใช้โลโก้
            ในยุคแรกเป็นรูปหอยเชลล์และเปลวแก๊สแลบออกมา  ต่อมาในปี  ค.ศ.1982    ได้เปลี่ยนโลโก้เป็นรูปชามลายคราม
            ตัวแทนของวัฒนธรรมที่เก่าแก่ ซึ่งโลโก้ทั้งสองได้เป็นสัญลักษณ์ของอาหารรสเลิศ
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24