Page 18 - ThaiVersion
P. 18

เขายังคงบันทึกความประทับใจในบ้านเรือนสองฝั่งน้ำาว่า  “ระหว่างบางกอกและสยาม  [อยุธยา]  จะพบเห็นบ้านเรือน
            มากมายอยู่ริมแม่น้ำาซึ่งมีลักษณะเป็นกระท่อมบนเสาสูงเพื่อป้องกันน้ำาท่วม  ตัวบ้านจะทำามาจากไผ่ซึ่งได้มาจากลำาของ

            ต้นไผ่ซึ่งนิยมใช้กันในประเทศ... ในบริเวณข้างเคียง คือตลาดน้ำาที่ชาวสยามผู้สัญจรไปมาได้ซื้อขายของกินกัน มีทั้งผล
            ไม้ ข้าว เหล้า (มีส่วนผสมจากข้าวและมะนาว) ”


            อย่างไรก็ตาม ชาวยุโรปได้เข้ามาพัวพันกับกรณีพิพาททางการเมืองในสยาม ทำาให้ถูกขับไล่ออกไปจากราชอาณาจักรใน

            ปี ค.ศ. 1688 และถูกสั่งห้ามไม่ให้เข้ามาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1820 ช่วงนั้นมีเพียงชาวจีนและชาวญี่ปุ่นที่ยังคงทำาการค้า
            กับอยุธยาจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1767 ที่กรุงศรีอยุธยาได้ล่มสลายและได้เปลี่ยนราชธานีมาเป็นกรุงธนบุรีและกรุงเทพ
            ในเวลาต่อมา  ในปี ค.ศ. 1825 นักเดินทางชาวยุโรปได้บันทึกการเดินทางในสยาม ดังปรากฏในจดหมายเหตุของ
            สิงคโปร์ซึ่งเขาได้บรรยายว่า “กรุงเทพ เมืองหลวงแห่งสยามมีสภาพอากาศที่ดี  ความสะดวกสบายและสิ่งของที่จำาเป็น

            ต่างหาได้ง่ายในกรุงเทพ ข้าวมีราคาถูกมาก รวมถึงปลา เนื้อสัตว์ต่างๆล้วนมีมากมายในคุณภาพที่ดี  แต่สำาหรับชาว
            ยุโรปอาจประสบกับความไม่สะดวกบางอย่างจากการพัฒนาที่ยังล้าหลังอยู่บ้าง  เช่น  ถนน  รถหรือแม้แต่การรบกวน
            จากยุง…” ในปี ค.ศ. 1867 มากี เดอ โบวัวร์ (Marquis de Beauvoir) ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวคนแรก
            ที่เดินทางมาไทยเพื่อการท่องเที่ยวอย่างเดียวโดยปราศจากวัตถุประสงค์ด้านการค้า ศาสนาและการทูต   เขาเดินทาง

            มาจากสิงคโปร์โดยเรือกลไฟ  และเป็นคนแรกที่ได้บันทึกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในกรุงเทพ    ถึงแม้จะอยู่ในช่วงวัยรุ่น
            (อายุ  20  ปี)  แต่เขาได้สังเกตุสิ่งรอบตัวอย่างละเอียดถี่ถ้วน  และได้ใช้เวลาประมาณ  1  สัปดาห์ในเดือนมกราคม
            ท่องเที่ยวในกรุงเทพ ตัวหนังสือในบันทึกของเขาเปรียบเสมือนกล้องถ่ายรูปที่ช่วยเก็บภาพระหว่างการเดินทาง



            ในขณะที่เรือเทียบท่า เขาได้บันทึกว่า “เบื้องหลังของแม่น้ำาใหญ่ ทัศนียภาพของกรุงเทพได้ปรากฎสู่สายตา ช่างเหลือเชื่อ
            ยิ่งนักที่จะมีที่ใดๆในโลกที่จะสวยงามหรือมหัศจรรย์ไปกว่าที่นี่  เวนิซแห่งเอเซียนี้ได้รวมทุกสิ่งที่น่าอัศจรรย์ภายในรัศมี
            8 ไมล์  แม่น้ำาที่กว้างใหญ่ซึ่งมีเรือมากถึง 60  ลำา จอดเรียงราย บริเวณสองฝั่งแม่น้ำาเต็มไปด้วยบ้านเรือนนับพันหลัง
            และผู้คนที่แต่งกายด้วยสีสันสดใส บนผืนแผ่นดินคือที่ตั้งของพระราชวัง ศูนย์กลางการปกครองของเมือง ที่ล้อมรอบไป

            ด้วยกำาแพงสูง” เกือบสามทศวรรษถัดมา  อีริค ไซเดนฟาเดน (Erik Seidenfaden) ผู้แต่งหนังสือแนะนำากรุงเทพ
            พร้อมบันทึกเกี่ยวกับสยาม (Guide to Bangkok with Notes on Siam) ซึ่งเป็นหนังสือนำาเที่ยวในยุคแรก ได้เขียน
            ไว้ว่า “อนิจจา ภาพที่เคยงดงาม บัดนี้บ้านเรือนแพทั้งหลายแทบไม่เหลืออยู่เลย”



            เดอ  โบวัวร์  (De  Beauvoir)  และสหายของเขาได้พักที่โบสถ์คาทอลิกฝรั่งเศสและได้เที่ยวชมเมืองโดยได้ไปวัดอรุณ
            วัดโพธิ์ วัดสระเกศ (ซึ่งโด่งดังในเรื่องของฝูงแร้งที่จิกกินซากศพ) และพระบรมมหาราชวัง  เขาทั้งสองยังได้รับการต้อนรับ
            จากพระบาทสมเด็จจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและได้รับอนุญาตให้เข้าชมบริเวณเขตพระราชฐานชั้นในซึ่งเป็นที่หวงห้าม
            สำาหรับคนภายนอกและผู้ชาย



            ในปี ค.ศ. 1888 หนังสือพิมพ์ เซนท์ เจมส์ กาเซทท์ (St. James Gazette) แห่งลอนดอนได้ตีพิมพ์เรื่องราวที่คล้าย
            กันเกี่ยวกับกรุงเทพ โดยได้ให้ความสนใจกับวัด พระราชวังและต้นไม้น้อยใหญ่ที่ประดับประดาให้กรุงเทพแลดูเหมือน
            อุทยานขนาดใหญ่  สถาปัตยกรรมที่งดงามของสยามที่เต็มไปด้วยพระราชวังและโบสถ์วิหารล้วนเป็นที่เลื่องลือมาแสน

            นาน  และภายในไม่กี่ชั่วโมงของการเดินทางล้วนมีสิ่งที่น่าสนใจให้นักท่องเที่ยวได้รับชม  ซึ่งต่างจากในเมืองจีนที่ต้อง
            ใช้เวลาหลายสัปดาห์จึงจะได้พบ”
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23