Page 14 - ThaiVersion
P. 14
มนต์เสน่ห์ที่แตกต่าง
ประเทศไทยเป็นเมืองที่สร้างความบันเทิงใจให้กับบรรดานักท่องเที่ยวมามากกว่าศตวรรษ แต่สิ่งที่เด่นชัดของการ
ท่องเที่ยวไทย คือ ความประทับใจของนักท่องเที่ยวยุคปัจจุบันได้เป็นสิ่งเดียวกันที่สร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือน
ในอดีต พวกเขาไม่ได้มาเพื่อวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยว หากแต่เป็นวัตถุประสงค์ด้านการฑูต การค้าหรือภารกิจทาง
ด้านศาสนา ดังเช่น บรรดาผู้นำาโลกอย่างประธานาธิบดียูลิสซีส เอส. แกรนต์ (Ulysses S. Grant) ที่ได้มาเยือนไทย
ในปี 1879 และ ซาเรวิตช์แห่งรัสเซียที่ได้เสด็จมาในปี 1891 ได้มีบันทึกของบรรดาผู้มาเยือนในอดีตมากมาย
ที่ได้กล่าวถึงความงดงามของราชอาณาจักรไทยรวมถึงวัดวาอารามต่างๆ พวกเขายังได้ประทับใจกับความงามของ
สองฝั่งคลองและแม่น้ำาลำาธาร รวมถึงไมตรีจิตและการต้อนรับของคนไทยที่มีต่อผู้มาเยือน สิ่งที่ปรากฎเด่นชัดในบันทึก
การเดินทางช่วงก่อนศตวรรษที่ 20 คือ การบรรยายถึงความเขียวขจีของผืนแผ่นดินที่ว่างเปล่าซึ่งเต็มไปด้วยโอกาส
อย่างมากมาย ผู้เขียนบันทึกยังได้กล่าวถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ซึ่งดูจะเอื้อต่อการเพาะปลูกพืชพันธุ์ต่างๆได้
เป็นอย่างดีรวมไปถึงต้นไม้ที่เต็มไปด้วยผลไม้นานาชนิด ระหว่างการเดินทาง นักท่องเที่ยวได้ผ่านป่าดงดิบเป็นระยะ
ทางยาว ซึ่งได้พบกับหมู่บ้านคนเป็นช่วงๆ แสงที่สาดส่องลงมาผ่านต้นไม้น้อยใหญ่และบรรยากาศอันเย็นสบายจาก
ท้องฟ้าที่แจ่มใสช่วยเพิ่มความความสดชื่นให้กับการเดินทาง
ภายหลังประเทศไทย (หรือที่รู้จักกันดีในชื่อสยาม)ได้เป็นศูนย์กลางทางการบิน และได้เป็นเมืองสำาคัญของบรรดา
พ่อค้า ผู้แสวงหาสมบัติ ผู้แสวงบุญ นักผจญภัยรวมไปถึงนักล่าอาณานิคม สิ่งที่น่าสนใจคือคนหลากหลายชาติที่เข้า
มาในเมืองไทย ซึ่งมีทั้งเอเซีย ยุโรป หรือแม้แต่แอฟริกาเหนือ ซึ่งมีจำานวนมากที่เข้ามาและใช้ชีวิตอยู่อย่างถาวร และ
ได้สร้างลูกหลานที่กลายเป็นส่วนหนึ่งในสังคมไทย ผู้มาเยือนในอดีตบางกลุ่มไม่ได้เข้ามาเพื่อวัตุประสงค์ด้านการท่อง
เที่ยว แต่ตรงกันข้ามเพื่อทำาการยึดอำานาจ ในปี 1252 กุบไลข่านและกองทัพได้เดินทางมาจากทางใต้ของมองโกเลีย
และได้ทำาศึกชนะเหนือดินแดนเสฉวนและเฉิงตู กองทัพกุบไลข่านได้เข้าตีราชอาณาจักรไทยทางเมืองน่านเจ้าซึ่งใน
ปัจจุบันคือมณฑลยูนนาน ในปี 1294 อาณาจักรสุโขทัยและเชียงใหม่ได้ยอมสวามิภักดิ์ให้กับราชวงศ์หยวนและในรัช
สมัยของพ่อขุนรามคำาแหงได้โปรดให้ส่งเครื่องบรรณาการไปเจริญสัมพันธไมตรีจนถึงปี 1299 ครึ่งศตวรรษหลังจาก
นั้น พ่อค้าชาวจีนได้เริ่มเข้ามาในไทยผ่านทางเรือสำาเภาที่เดินทางมาจากมณฑลฝูเจี้ยนและกวางตุ้งเพื่อแสวงหาโอกาส
ในการค้า พ่อค้าชาวอินเดียในช่วงราชวงศ์โจฬะและปาลลาวะได้เริ่มเดินทางเข้ามาในไทยช่วงราวศตวรรษที่ 5 พวก
เขาได้ตั้งสถานีการค้าในบริเวณปากแม่น้ำาทางตอนใต้ของคาบสมุทรและได้ค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับหมู่บ้านในแถบนั้น
การค้าระหว่างชาวไทยและชาวอินเดียได้เริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงอาณาจักรสุโขทัยในปี 1275
พวกพราหมณ์ซึ่งเข้ามาในช่วงอาณาจักรขอมเรืองอำานาจได้สร้างอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างมาก และได้รับการ
ยกย่องในความเชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์รวมถึงความรู้ในโบราณราชประเพณีของกษัตริย์ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากทาง
อินเดีย ในสุโขทัยและอยุธยาได้มีวัดพราหมณ์เกิดขึ้นเป็นจำานวนมาก พราหมณ์ยังเป็นผู้รับผิดชอบในการดำาเนินงาน
พระราชพิธีต่างๆตามแนวคิดที่ว่ากษัตริย์คือสมมติเทพนั่นเอง ในยุคปัจจุบันพราหมณ์ยังมีบทบาทในการประกอบพระ
ราชพิธีที่สำาคัญของกษัตริย์ เช่น พระราชพิธีสถาปณามกุฎราชกุมาร พระราชพิธีโสกันต์ รวมถึงการหล่อพระพุทธ
รูปทองสัมฤทธิ์ พราหมณ์จากโบสถ์พราหมณ์ที่อยู่ใกล้วัดสุทัศน์ ยังคงเป็นผู้ประกอบพิธีสำาคัญอย่างเช่นพิธีโล้ชิงช้าซึ่ง
เป็นประเพณีของชาวฮินดูที่ต้อนรับการเสด็จลงมายังโลกของพระอิศวร พิธีโล้ชิงช้าที่มีชื่อเสียงนี้ประกอบไปด้วยผู้ที่จะ