Page 17 - ThaiVersion
P. 17

“ทันทีที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร    จะมีเรือหลวงเข้ามาต้อนรับ  คณะเดินทางจะนำาจดหมายมอบแก่เจ้าเมือง
            ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของกษัตริย์เพื่อนำาไปมอบให้แก่กษัตริย์ต่อไป    ในท้องถนนเต็มไปด้วยกองทหารติดอาวุธเป็น

            จำานวนมาก  และจะมีช้างซึ่งประดับประดาด้วยอาภรณ์พร้อมกับบรรดาข้ารับใช้ที่นำาหน้าขบวนทูตเพื่อเข้าเฝ้าพระมหา
            กษัตริย์ในพระราชวัง  ในการเข้าเฝ้าจะมีการมอบของขวัญที่มีค่าอย่างมากมายมหาศาลแก่กษัตริย์เพื่อแสดงถึงความ
            เคารพและเชิดชูความยิ่งใหญ่”



            นักเดินทางชาวเปอร์เซียได้เดินทางมาถึงเมืองหลวงใน  ค.ศ.  1602  และประทับใจในวิธีชีวิตบนน้ำา    และจากงานใน
            ศตวรรษที่ เรื่องเรือของสุไลมาน ได้เปลี่ยนชื่อของเมือง ในตะวันออกกลางมาเป็น “Sahr-e nav” หรือ “เมืองแห่ง
            เรือ และ แม่น้ำา” ชาวเปอร์เซียนไม่ได้มีบทบาทแค่เพียงด้านการค้าเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำาคัญในด้านการรับใช้ราช
            สำานักไทยอีกด้วย  ดังเช่น  ตระกูลบุนนาค  ซึ่งมีบุคคลสำาคัญในตระกูลที่ได้ดำารงตำาแหน่งเป็นผู้สำาเร็จราชการแผ่นดิน

            ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี ค.ศ. 1868-1910) เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ จนกระทั่ง
            ถึงปี  ค.ศ.  1873    ชาวเปอร์เซียนส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธและคำาศัพท์ของเปอร์เซียจำานวนมากได้
            เข้ามาอยู่ในภาษาไทย เช่น คำาเรียกชื่อผักและผลไม้ เช่น กุหลาบ  องุ่น และกะหล่ำาปลี  และยังรวมไปถึงคำาว่า “ฝรั่ง”
            ซึ่งใช้เรียกชาวตะวันตกและชาวอเมริกาเหนือซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน



            บันทึกของเอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์ (Engelbert Kaempfer) ในปี ค.ศ. 1690 ได้บรรยายถึงความงามของธรรมชาติ
            ในสยามว่า “เมื่อเรามาถึงปากน้ำา (สมุทรปราการ) ห่างจากฝั่งแม่น้ำาประมาณ 7 ไมล์ เราพยายามเดินเข้าไปในป่าที่
            ค่อนข้างแห้ง เต็มไปด้วยเสือและสัตว์ป่าที่หิวกระหาย  บริเวณฝั่งแม่น้ำาค่อนข้างตื้นเขินและเต็มไปด้วยดินโคลน จาก

            กรุงเทพถึงท่าเรือไม่มีอะไรนอกจากป่า “นอกจากนี้ ระหว่างล่องเรือ ยังได้พบกับสัตว์หลากหลายพันธุ์ ที่เห็นได้ชนิด
            แรก คือ ลิงที่มีขนสีดำา.... หิ่งห้อยคือสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ หิ่งห้อยนั้นลอยอยู่ตามต้นไม้ซึ่งจะอยู่รวมกันตามกิ่ง
            ก้านสาขาของต้นไม้  พร้อมเปล่งแสงออกมาวิบวับเป็นจังหวะ เปรียบเหมือนจังหวะการเต้นของหัวใจ นักเขียนหลาย
            คนได้ตื่นตาตื่นใจกับปรากฎการณ์ทางธรรมชาตินี้เช่นเดียวกัน”



            “รอบๆตัวเมืองคือชานเมืองซึ่งเต็มไปด้วยหมู่บ้านที่ผู้คนอาศัยอยู่ในเรือนแพบนน้ำา  แต่ละหลังอาจจะมีสองครอบครัว
            หรือสาม  หรือมากกว่านั้นอยู่ร่วมกัน  บางระยะเวลาก็ได้เคลื่อนย้ายถิ่นฐานและกลับมาใหม่เมื่อฤดูน้ำาขึ้น  ผู้คนได้ใช้
            ชีวิตบนแพทั้งเพื่อค้าขายสินค้าและอยู่อาศัย”



            ฝรั่งเศสได้เข้ามามีบทบาทที่สำาคัญในอยุธยาช่วงศตวรรษที่ 17 และได้เป็นสื่อกลางในการเริ่มต้นการติดต่อระหว่างไทย
            และฝรั่งเศส  ในปี ค.ศ. 1680  บริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส(Frence East India) ได้ส่งเรือเข้ามายังประเทศไทย
            และได้ส่งคณะทูตเพื่อดำาเนินการเจรจาข้อตกลงการค้ากับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ค.ศ. 1657-1688) หลังจาก

            นั้นทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนคณะทูตระหว่างกัน ในปีเดียวกันและในปี ค.ศ. 1684 คณะทูตไทยได้เดินทางไปปารีสใน
            สมัยของพระเจ้าหลุยส์ท 14 ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ ชาวฝรั่งเศสที่มีสำาคัญอีกคนหนึ่ง คือ กี ตาร์ชาร์ (Guy
            Tachard) ที่มาเข้ามาในปี ค.ศ. 1685  ในบันทึกการเดินทางไปสู่ประเทศสยามในปี ค.ศ. 1688 ได้กล่าวถึงความ
            อุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติที่เต็มไปด้วยฝูงลิงตามต้นไม้บริเวณสองฝั่งน้ำา    และเสริมอีกว่า  “ไม่มีความเพลิดเพลินใด

            จะสู้การมองดูฝูงนกกระสาบินไปมาตามต้นไม้น้อยใหญ่    นกสีขาวซึ่งบินปะปนกับสีเขียวของต้นไม้ทำาให้ทัศนียภาพ
            น่ามองยิ่งนัก  นกในป่าเหล่านี้ต่างมีปีกที่สวยงามเต็มไปด้วยสีสัน บ้างมีปีกสีเหลือง บ้างแดง บ้างเขียว โบยบินไปมา”
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22