Page 20 - ThaiVersion
P. 20

ในปีเดียวกัน บริษัทเชลล์ยังได้จัดทำา “คู่มือแนะนำาอุทยานแห่งชาติในประเทศไทย” ซึ่งตีพิมพ์ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
            และได้รวบรวมเนื้อหาของอุทยานแห่งชาติในเมืองไทยจำานวน  42  แห่งทั่วประเทศ  ซึ่งในปัจจุบันเมืองไทยมีอุทยาน

            แห่งชาติทั้งสิ้นรวม 127 แห่ง และแบ่งเป็นอุทยานทางทะเล 22 แห่ง  อุทยานแห่งชาติเหล่านี้อุดมไปด้วยดอกไม้
            พันธ์พืชและสัตว์นานาชนิดและได้เป็นสถานที่อยู่อาศัยสำาหรับสัตว์หลากหลายสายพันธุ์  ซึ่งกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว
            ที่เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัสกับความงามของธรรมชาติ  อุทยานแห่งชาติที่มีชื่อเสียง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติ
            เขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและอุทยานแห่งชาติภูกระดึง



            สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือจำานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในเมืองไทยได้ช่วยประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเมืองไทยผ่านการ
            บอกเล่าปากต่อปากซึ่งเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์ที่ดียิ่งกว่าการโปรโมทใดๆ  ทำาให้เมืองไทยจึงกลายเป็นเมืองที่เป็น
            ที่รู้จัก  กลุ่มคนที่มีบทบาทในการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเมืองไทยหลักๆคือ  ทหารอเมริกาที่ประจำาในปี  ค.ศ.  1960

            (ซึ่งหลายคนได้เกษียนอายุที่เมืองไทย)  อาสาสมัครหน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกาและอังกฤษและยังมีอาสาสมัครจาก
            ชาตือื่นๆ รวมถึงบรรดามิชชันนารีที่ได้เดินทางกลับไปยังประเทศบ้านเกิด


            อีกสิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามในการเผยแพร่วัฒนธรรมไทย  คือ  บรรดาร้านอาหารไทยที่เปิดในต่างประเทศในช่วงปี

            ค.ศ.  1980  และในเวลาไม่ถึงทศวรรษ  อาหารไทยได้ก้าวขึ้นมาเป็นอาหารชั้นนำาของโลก  และได้รับความนิยมอย่าง
            ยิ่งในหมู่นักท่องเที่ยวจนต้องหาโอกาสเดินทางเข้ามาชิมในประเทศไทย   หลายคนได้ลงเรียนวิชาการทำาอาหารไทย
            เพื่อกลับไปทำายังบ้านเกิดตนเอง



            เมื่อประเทศไทยได้รับความนิยมด้านการท่องเที่ยวส่งผลให้ธุรกิจการบิน  โรงแรมและภาคการท่องเที่ยวเติบโตอย่าง
            รวดเร็วเพื่อดึงดูดชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามา  ในปี ค.ศ. 1960 ได้มีการก่อตั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อรองรับ
            กับการเติบโตของจำานวนนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามาในเมืองไทยและมีจำานวนเพิ่มขึ้นโดยตลอดระยะเวลากว่า 50 ปี



                มุมมองของชาวเปอร์เซียนในปี ค.ศ. 1680
                อิบนุ มูฮัมหมัด อิบราฮิม (Ibn Muhammad Ibrahim) ชาวเปอรืเซียนที่ได้เดินทางเข้ามาในไทยในปี ค.ศ.
                1680 ได้บันทึกข้อสังเกตุของเขาไว้ในหนังสือสำาเภาของกษัตริย์สุไลมาน (The Ship of Sulaiman) ซึ่ง

                ภายหลังได้ตีพิมพ์ในลอนดอน เราได้เดินทางมาทางเรือและเพียงหนึ่งวันเราได้มาถึงเมืองซูฮาน  [กรุงเทพ]
                เมืองนี้อยู่ติดกับชะฮฺร์  นาว์  [อยุธยา]  ซึ่งเป็นเมืองที่มีความสวยงามและอุดมสมบูรณ์    สายน้ำาจากแม่น้ำา
                ได้ไหลผ่านตัวเมืองและไหลออกไปสู่ทะเล  สองฝั่งแม่น้ำาเต็มไปด้วยสวนผลไม้ที่เปิดโล่งไร้รั้วหรือกำาแพงใดๆ
                ผู้คนได้ปลูกผลไม้นานชนิดมีตั้งแต่มะนาว  ส้ม  มะพร้าวและแมงโก  รวมไปถึงต้นพลูและไม้สน  ผลไม้ของ

                สยามทุกชนิดล้วนมีอยู่ในพระนครแห่งนี้  รอบตัวของเราเต็มไปด้วยต้นไม้ที่ไม่เคยได้ร่วงหล่นหรือสัมผัสลม
                หนาวแห่งฤดูใบไม้ร่วง    ต้นไม้ทุกต้นล้วนเจริญงอกงามเหมือนกับความหวังในวัยหนุ่มสาวที่หล่อเลี้ยงหัวใจ
                ในยามชรา ในเมืองอื่นๆต่างมิอาจหลีกเลี่ยงลมหนาวที่พัดพาใบไม้ปลิวหลุดลอยร่วงหล่น แต่พระนครแห่งนี้
                ช่างโชคดีเหนือเมืองอื่นใด
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25