Page 16 - ThaiVersion
P. 16
ได้เข้าร่วมรบในสงครามพม่า ทหารรับจ้างเหล่านี้อยู่ภายใต้การนำาของนายพล ยามาดา นางามาสา (Yamada
Nagamasa) ซึ่งเป็นเจ้ากรมอาสาญี่ปุ่น ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์จากพระเจ้าทรงธรรมให้เป็น ออกญา
(เจ้าพระยา) และได้รับคำาสั่งให้ไปปกครองเมืองนครศรีธรรมราชทางใต้ ซึ่งความดีความชอบของท่านยังคงตกทอด
มาถึงบรรพบุรุษซึ่งเป็นต้นตระกูลยมราช ซึ่งต่อมาเป็นชื่อของเขตบริเวณสี่แยกเพชรบุรี พิษณุโลกและถนนหลานหลวง
ในกรุงเทพ ตามพงศาวดารของกรุงศรีอยุธยาได้บันทึกว่าในช่วงปี ค.ศ. 1600 สมัยพระเจ้าเอกาทศรส (ครองราชย์ ปี
ค.ศ. 1605–1610) “พระองค์ได้สนพระทัยในการสร้างความมั่งคั่งให้กับเงินคงคลัง” และได้ “โปรดให้มีการติดต่อกับ
ชาวต่างชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวโปรตุเกส สเปน ฟิลิปปินส์ จีน ชาวดัตซ์และญี่ปุ่น”
ในปี ค.ศ. 1601พ่อค้าชาวดัทซ์ได้เริ่มเข้ามาในอยุธยา และในปี ค.ศ. 1608 ได้รับพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จพระ
เอกาทศรถให้ตั้งสถานีการค้าแห่งแรกและภายหลังได้มีการแลกเปลี่ยนทางการทูตเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี เช่นเดียว
กับชาวโปรตุเกสและญี่ปุ่นที่เข้ามาเป็นกองกำาลังอาสา ในระหว่างปี ค.ศ. 1630 – 1632 ชาวดัทซ์ได้เข้าร่วมรบในสมัย
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ครองราชย์ปี ค.ศ. 1630-1645) ในสงครามการสู้รบกับกัมพูชา และได้รับสิ่งตอบแทน
เป็นการผูกขาดการค้าของสินค้าบางชนิด เช่น หนังกวาง หนังปลากระเบนและไม้ฝาง (มีถิ่นกำาเนิดทางอินเดียตะวันตก
ซึ่งมีเนื้อไม้เป็นสีแดงและมีสรรพคุณเป็นสมุนไพร) โดยแลกกับเครื่องเงินและทองแดง
พ่อค้าชาวดัทซ์นามว่า ฟรานซิล คารอนและจูทส์ สเคาเตน ได้บันทึกในหนังสือที่บรรยายรายละเอียดของราช
อาณาจักรสยามและญี่ปุ่น ตีพิมพ์เมื่อปี 1671 ซึ่งได้บรรยายความประทับใจในราชอาณาจักรอยุธยา ดังใจความตอน
หนึ่งว่า “เมืองไอยูเดีย (อยุธยา) นั้นล้อมรอบไปด้วยกำาแพงอิฐขนาดใหญ่..ถนนภายในกำาแพงเมืองนั้นกว้างใหญ่ เป็น
เส้นตรงและเชื่อมกัน แม้ว่าบางเส้นทางจะเป็นคู คลองขนาดเล็ก ชาวบ้านก็ยังสัญจรไปมาโดยวิธีทางเรือที่สามารถ
เทียบท่าหน้าประตูบ้านเลยทีเดียว “เมืองนั้นสวยงามเป็นอย่างยิ่งและ เต็มไปด้วยโบสถ์วิหารซึ่งมีจำานวนมากกว่า ๓๐๐
แห่งและก่อสร้างขึ้นอย่างวิจิตรบรรจงที่สุด โบสถ์วิหารเหล่านี้มีปรางค์ เจดีย์และรูปปั้นรูปหล่ออย่างมากมาย ใช้ทอง
ฉาบอยู่ภายนอกสีเหลืองอร่ามทั่วไปหมด พระราชวังของกษัตริย์ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำาซึ่งมีอาณาบริเวณคล้ายคลึงกับเมือง
ขนาดเล็กมีความยิ่งใหญ่และงดงาม อาคารหลายแห่งถูกประดับประดาเป็นสีทอง”
“หากมีคราใดที่พระมหากษัตริย์เสด็จดำาเนินทางน้ำา จะมีบรรดาขุนนางกว่า 200 คนพร้อมด้วยฝีพายอีก 80-90 คน
ตามเสด็จบนเรือที่ประดับประดาไปด้วยทอง กษัตริย์จะทรงประทับอย่างสง่าอยู่บนบังลังค์โดยมีบรรดาขุนนางเข้าเฝ้า
อยู่ไม่ห่าง” การสัญจรทางเรือซึ่งแพร่หลายในเมืองไทยได้สร้างเอกลักษณ์ให้กับชาวต่างชาติจนถึงปัจจุบัน ในปี ค.ศ.
1687 ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de la Loubere) ได้บรรยายถึงสยามตอนหนึ่งใจความว่า “เส้นทางการเดินทาง
ในสยามส่วนใหญ่คือทางน้ำาลัดเลาะไปตามคลอง ซึ่งคล้ายคลึงกับเมืองเวนิซที่มีสะพานที่ทำาจากอิฐทั้งเล็กใหญ่” ซึ่งชาว
ต่างขาติในยุคแรกได้ให้สมญานามต่ออยุธยาและภายหลังคือกรุงเทพว่าเป็น “เวนิซตะวันออก” อย่างไรก็ดีสมญานาม
นี้ได้ถูกเรียกในอีก 21 เมืองในเอเซีย ในปี ค.ศ. 1688 นิโกลาส์ แฌร์แวส (Nicholas Gervaise) ได้ประทับใจกับ
บ้านเรือนบนน้ำาในระหว่างการเดินทางไปอยุธยา:
“สองฝากฝั่งของแม่น้ำาล้วนเต็มไปด้วยบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของคนซึ่งมีลักษณะเหมือนแพที่ทำาจากไม้ไผ่และยังมีเรือที่
จำาหน่ายสินค้าจากจีน ซึ่งมีมากมายจนทำาให้อดคิดไม่ได้ว่าเส้นทางหลักของการเดินทางและการค้าขายของชาวสยาม
คือ ทางน้ำา ไม่ใช่ทางบก”