Page 10 - ThaiVersion
P. 10
โดยราชอาณาจักรทางตอนใต้โดยพระเจ้าอู่ทองซึ่งมีดินแดนอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำาเจ้าพระยาและได้บัญชาการ
ให้ทหารขุดลอกคูรอบเมืองเพื่อสร้างป้อมปราการทางน้ำาล้อมรอบเมือง ซึ่งนับแต่ปี 1351 พระเจ้าอู่ทองได้สร้าง
ศูนย์กลางทางอำานาจใหม่ในทางตอนกลาง และได้ตั้งชื่อราชธานีใหม่ว่าอยุธยาตามชื่อเมืองอโยธยาทางตอนเหนือ
ของอินเดีย ซึ่งนามอโยธยานั้นสอดคล้องกับความเชื่อที่เป็นแผ่นดินที่ประสูติของพระราม กษัตริย์ที่เป็นดังสมมติเทพ
ตามวรรณกรรมฮินดู วรรณกรรมรามายณะยังเป็นวรรณกรรมที่แพร่หลายไปเกือบทุกประเทศในทวีปเอเซียตะวันออก
เฉียงใต้ (คนไทยรู้จักดีในชื่อรามเกียรติ)
การตั้งชื่อดังกล่าวสืบเนื่องจากความตั้งใจของพระเจ้าอู่ทองที่ปรารถนาจะที่ใช้ชื่อเสริมสร้างบารมีของราชวงศ์ เนื่องจาก
พระรามถือเป็นอวตารของพระวิษณุ มหาเทพผู้ปกปักรักษา ร่วมกับพระพรหม มหาเทพ ผู้สร้างทุกสรรพสิ่งและ
พระอิศวร (พระศิวะ) รวมเป็นสามมหาเทพตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดูและศาสนาศาสนาพราหมณ์ที่เป็นต้น
กำาเนิดของพระราชพิธีต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ไทย นอกจากนี้ยังปรากฎอยู่ในแนวคิดของการตั้งพระนามของกษัตริย์
เช่น “รามคำาแหง” หรือกษัตริย์ในสมัยอยุธยาอีกหลายพระองค์ หรือแม้กระทั่งในราชวงศ์จักรีซึ่งเป็นราชวงศ์ที่สถาปนา
กรุงเทพเป็นราชธานีในปี 1792 และได้ปกครองราชอาณาจักรไทยมาจนถึงปัจจุบันผ่านการปกครองแบบราชาธิปไตย
ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ในรัชกาลที่ 9 ยังมีอีกพระนาม
คือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 9
อาณาจักรอยุธยาได้แผ่ขยายอำานาจออกไปทางภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งรวมทั้งครึ่งหนึ่งของประเทศกัมพูชา
และสี่รัฐทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซียถึง 417 ปี ความยิ่งใหญ่และความร่ำารวยของราชอาณาจักรทำาให้ภายใน
ปี 1680 ได้มีประชากรถึง 1 ล้านคนมากกว่าจำานวนประชากรของเมืองลอนดอนในขณะนั้น จากความรุ่งเรืองดังกล่าว
ส่งผลให้อยุธยาได้กลายเป็นเมืองที่ดึงดูดทั้งพวกยุโรปและเอเซียให้เข้ามาทำาการค้า
นอกจากความสนใจของบรรดาพ่อค้าแล้ว อยุธยายังเป็นเมืองที่ได้รับความสนใจจากพม่าซึ่งได้เข้ามารุกรานหลายต่อ
หลายครั้งและจากความพยายามครั้งแล้วครั้งเล่าในการทำาสงครามกับอยุธยา พม่าได้รับชัยชนะเหนือกรุงศรีอยุธยาใน
ที่สุดในปี 1767 และได้เผาทำาลาย กวาดต้อนทรัพย์สินและผู้คนไปหมดสิ้น ภายใน 3 ปี กรุงศรีอยุธยาซึ่งครั้งหนึ่ง
มีประชากรเป็นล้านคนได้เหลือแต่เพียงเศษซากปรังหักพังและได้กลายเป็นเมืองร้างที่เหลือผู้คนไม่ถึงหลักหมื่น
กษัตริย์องค์ถัดมาที่มีบทบาทสำาคัญคือพระเจ้าตากสินที่มีเชื้อสายจีนซึ่งเป็นผู้ขับไล่กองกำาลังพม่าออกไปจาก
กรุงศรีอยุธยา กองกำาลังทหารในพม่าขณะนั้นได้ยุ่งกับการทำาศึกกับกองทัพจีนที่เข้ามารุกรานจากทางเหนือ พระเจ้า
ตากสินจึงได้ใช้โอกาสนี้ในการขับไล่ข้าศึกพม่า ด้วยความตระหนักดีว่าการจะฟื้นฟูกรุงศรีอยุธยาให้เป็นราชธานีดังเดิม
นั้นคงเปล่าประโยชน์และด้วยความปรารถนาที่จะสร้างราชธานีให้ห่างไกลของพื้นที่เดิมเพื่อป้องกันข้าศึกศัตรูให้กลับ
มารุกรานได้อีก จึงทำาให้พระเจ้าตากสินย้ายราชธานีใหม่มาทางฝั่งธนบุรี ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง พระเจ้าตากสินได้
ใช้อยุธยาเป็นศูนย์บัญชาการรบและในที่สุดได้สามารถกอบกู้เอกราชคืนจากพม่าได้สำาเร็จ แต่สถานการณ์ภัยสงคราม
ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในรัชสมัยของท่านได้ทำาให้พระเจ้าตากสินถูกบังคับให้สละราชสมบัติในปี 1782
ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว แม่ทัพใหญ่ที่ได้เสร็จจากการปราบศึกสงครามจากทางลาวได้ถูกอัญเชิญเสด็จขึ้นป็นกษัต
ริย์และได้สถาปนาราชธานีใหม่ขึ้น ทรงมีพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือ พระบาทสมเด็จ