Page 7 - ThaiVersion
P. 7
ได้มีคนถามท่านว่ามีแผนที่จะปรับปรุงเนื้อหาในหนังสือหรือไม่ ท่านได้ให้คำาตอบที่สร้างความตกตะลึงให้กับผู้คนว่า
“ผมอยากที่จะโยนมันทิ้งลงถังขยะเสียด้วยซ้ำา” และท่านได้อธิบายต่อว่า “ผมไม่รู้ว่าคนไทยจริงๆคืออย่างไร ดูจาก
ผู้คนรอบตัวเหล่านี้ที่เรียกตัวเองว่าคนไทย อะไรคือสิ่งที่หลอมรวมให้เป็นชาติพันธุ์ไทย ในเมื่อพวกเขาเป็นส่วนผสม
จากหลากหลายชาติพันธุ์ในโลกนี้”
สิ่งที่ท่านพูดนั้นมีประเด็นอย่างยิ่ง เมื่อมองจากคนไทยรอบตัวที่เดินผ่านไปมาตามท้องถนน พวกเขาล้วนมีรูปร่าง
หน้าตาและผิวสีที่ต่างกัน คนไทยจึงเป็นชาติพันธุ์ที่มีความผสมผสานมาตั้งแต่ประวัติศาสตร์ ซึ่งข้อสนับสนุนนี้สามารถ
พบได้จากข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์
ในอดีต กลุ่มอิทธิพลหลักจะเป็นพวกยุโรปและอาเซียน แต่ทุกวันนี้ตามทั่วไปเป็นปกติที่จะเห็นชายชาวไนจีเรียกับ
ภรรยาชาวไทยเดินจูงมือลูกชายตัวน้อยในชุดนักเรียน หรือหญิงมุสลิมที่คลุมฮิญาบนั่งกินข้าวกับเพื่อนชาวพุทธ จึงเป็น
สิ่งที่ทำาให้นักท่องเที่ยวรับรู้ได้ถึงความเป็นมิตรและการต้อนรับอย่างอบอุ่นต่อชาวต่างชาติ หนึ่งในเหตุผลที่ทำาให้
ประเทศไทยรุ่งเรืองคือการคงไว้ซึ่งความสงบและสันติภาพแม้ในยามที่เศรษฐกิจและสังคมของเหล่าประเทศเพื่อนบ้าน
จะอยู่ในภาวะสงคราม หรือแม้แต่ปิดประเทศก็ตาม ประเทศไทยยังค่อนข้างเปิดรับกับความคิดใหม่ๆและเทคโนโลยี
เนื่องด้วยการมีศาสนาและวัฒนธรรมที่หลากหลายนั่นเอง
อีกหนึ่งข้อสนับสนุน คือ แนวความคิดของ “ความเป็นไทย” เมื่อให้นิยามความเป็นไทยในแบบสำารวจอย่างไม่เป็น
ทางการ สิ่งแรกที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่กล่าวถึงคือ ผู้คน ไม่ว่าจะเป็นความเป็นมิตร ความสุภาพ รอยยิ้ม ความใจดี
สงบ และในลำาดับถัดมาพวกเขาจะนึกถึงลักษณะเชิงกายภาพของประเทศ เช่น อนุสาวรีย์ ชายหาด ป่าไม้ อาหาร
ภายใต้คำาจำากัดความว่า “ประเทศที่มีเสน่ห์ที่แตกต่างจากบ้านเมืองของฉันอย่างเห็นได้ชัด”
แนวคิดของความเป็นไทยซึ่งยากต่อการอธิบายนั้นดูเหมือนว่าจะบรรยายถึงวิถีชีวิตของคนไทยที่ค่อนข้างผ่อนคลาย
วัฒนธรรมไทยมีจุดเด่นในการคงไว้ซึ่งความสงบ ไม่ว่าจะเผชิญกับความวุ่นวายประการใดก็ตาม คนไทยจะยังคงไว้
ซึ่งอารมณ์แห่งความสนุกสนาน นอกจากนี้คนไทยยังมีน้ำาใจซึ่งเห็นได้ชัดเจนในระหว่างการร่วมรับประทานอาหาร
ใบหน้าที่เต็มไปด้วยความสุขทำาให้ชาวต่างชาติเรียกเมืองไทยว่าเป็น “สยามเมืองยิ้ม”
นอกจากนี้ ความมั่นใจและภาคภูมิใจในวัฒนธรรมไทยได้แทรกซึมผ่านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การทำางานและการ
พักผ่อนซึ่งจะเห็นได้ว่าในภาษาไทย ความหมายของคำาว่า “งาน” นั้นเป็นได้ทั้ง “การทำางาน” และ “การร่วมงาน
(สังสรรค์)”
การก่อตัวของความเชื่อเหล่านี้มาจากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ว่าวิวัฒนาการของชาวไทยคือการผสมผสานทาง
ชาติพันธุ์ที่หลากหลาย โดยย้อนกลับไปตั้งแต่ยุคสำาริด (ยุคทองแดง) ที่มีอารยธรรมที่เฟื่องฟูดังปรากฎที่แหล่ง
วัฒนธรรมบ้านเชียง ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศซึ่งเป็นอารยธรรมในสมัยราว 1,495 ปีก่อน
คริสต์กาล ในสมัยนั้นได้มีการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำาจากทองแดง เครื่องประดับที่มีดีไซน์ที่ซับซ้อนรวมไปถึง
ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีแดง นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่แสดงถึงการทำาการเกษตรอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม
การสิ้นสุดของยุคสำาริดยังไม่เป็นที่ทราบอย่างแน่ชัด