Page 8 - ThaiVersion
P. 8

แนวความคิดที่ได้รับอิทธิพลถัดมาคือชนชาติไทยน่าจะมีถิ่นกำาเนิดอยู่บริเวณคาบสมุทรมลายูและไล่มาจนถึงที่ราบ
            ทางตอนกลางของทวีปซึ่งเป็นต้นกำาเนิดของหลากหลายเชื้อชาติในทวีปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

            ชาติพันธุ์ทางตอนใต้ของประเทศไทย    ถึงแม้ที่ตั้งที่แน่ชัดของอาณาจักรศรีวิชัยอันเก่าแก่ยังไม่เป็นที่ยืนยัน  แต่จาก
            จารึกทางประวัติศาสตร์พบว่าในช่วงเที่ยงวัน  มนุษย์จะไม่เห็นเงาตนเองซึ่งสนับสนุนความเชื่อของที่ตั้งที่น่าจะอยู่ใกล้
            กับเส้นศูนย์สูตร ซึ่งไม่นานมานี้ ได้ข้อสรุปว่าคือบริเวณหมู่เกาะสุมาตราในช่วงราวศตวรรษที่ 7



            ข้อมูลทางอารยธรรมนั้นมีที่มาจากบันทึกของหลวงจีนในสมัยราชวงศ์ถังนามว่าอี้จิง (Yijing) ที่ได้บันทึกการเดินทาง
            จากเมืองกวางตุ้ง ประเทศจีนไปยังมหาวิทยาลัยนาลันทา ประเทศอินเดียเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา หลวงจีนอี้จิงได้
            พำานักอยู่ที่เมืองปาเล็มบังในอาณาจักรศรีวิชัยเป็นเวลาถึง 6 เดือนในปี ค.ศ. 671 ซึ่งท่านได้บันทึกเกี่ยวกับความเจริญ
            รุ่งเรืองของอารยธรรมแถบนี้ที่ท่านได้สัมผัส  เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าอารยธรรมศรีวิชัยนี้ได้แผ่อิทธิพลไปทางตอนเหนือ

            ในประเทศเวียดนามและประเทศไทย       ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของอารยธรรมศรีวิชัยปรากฎอย่างเด่นชัดในแหล่ง
            โบราณสถานและแผ่นหินแกะสลักแบบฮินดูที่พบได้ในหลายแห่งในบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย


            ในยุคเดียวกับอาณาจักรศรีวิชัย คืออาณาจักรทวารวดีที่อยู่บริเวณตอนกลางซึ่งเป็นของชนชาติมอญที่มีอำานาจปกครอง

            อยู่ทางตอนใต้ของประเทศพม่าได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงราว ศตวรรษที่ 5 และได้ตั้งถิ่นฐานในดินแดนลุ่มน้ำา
            เจ้าพระยา  ในศตวรรษที่  8  อารยธรรมทวารวดีได้เจริญรุ่งเรืองอย่างมากในแถบเมืองลพบุรี  ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพ
            ประมาณ 130 กิโลเมตร  ลพบุรีเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในยุคโบราณในฐานะของเมืองที่เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาที่
            ได้รับความสนใจจากนักวิชาการต่างประเทศไม่แพ้อาณาจักรศรีวิชัย  ในอดีตก่อนที่แม่น้ำาจะตกตะกอนจนเกิดที่ราบลุ่ม

            จนมาเป็นกรุงเทพนั้น ลพบุรีเป็นเมืองท่าเรือที่มีเรือเดินทางมาจากทั้งอินเดีย ศรีลังกาและจีน


            ศูนย์กลางทางพุทธศาสนาที่สำาคัญอีกแห่งคือที่นครปฐมและบริเวณเจดีย์จุลาประโทนซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพประมาณ
            57 กิโลเมตร และเป็นเมืองท่าเช่นเดียวกับลพบุรี  โบราณสถานที่สำาคัญที่ได้ก่อสร้างขึ้นในยุคนั้น คือ พระปฐมเจดีย์

            ซึ่งมีความสูงประมาณ 127 เมตรและถือเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในโลก จวบจนปัจจุบัน พระปฐมเจดีย์ได้กลายเป็นแหล่ง
            ท่องเที่ยวสำาคัญที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจำานวนมากมาย ความน่าสนใจไม่ได้มีเพียงแค่ขนาดอันใหญ่โตเท่านั้นแต่ยังรวมถึง
            ความสำาคัญทางประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าอีกด้วย



            ศิลปะในยุคทวารวดีโดดเด่นทางด้านประติมากรรมพระพุทธรูปซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียและในด้านภาษา
            เขียนที่ได้ปรากฎอักษรอินเดียทางใต้ปะปนอยู่แสดงให้เห็นการติดต่อระหว่างกัน ในยุคนั้นผู้คนจำานวนมากได้เริ่มตั้งถื่น
            ฐานถาวรในดินแดนไทยและได้เกิดการผสมผสานทางชาติพันธุ์



            ในช่วงศตวรรษที่  10  อาณาจักรทวารวดีได้เริ่มตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรเขมรซึ่งเป็นช่วงรัชสมัยของพระเจ้า
            สุริยวรมันที่ 2 แห่งจักรวรรดิเขมรที่ได้เสวยราชย์ในช่วงต้นศตวรรษที่ 12 ซึ่งในภายหลังศิลปะของลพบุรีได้ถูกอิทธิพล
            ของศิลปะแบบเขมรครอบงำา       ต่อมาอาณาจักรทวารวดีจึงค่อยๆล่มสลายและได้ก่อกำาเนิดอารยธรรมใหม่ที่ปรากฎ
            ในบริเวณภาคกลางตอนบน  อย่างไรก็ตามชนชาติมอญยังคงสร้างรากฐานทางประวัติศาสตร์  และศิลปะแบบมอญ

            ยังปรากฏเด่นชัดในบริเวณวัดแถบลุ่มแม่น้ำาเจ้าพระยา
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13