Page 11 - ThaiVersion
P. 11

พระรามาธิบดีที่  1  พระองค์โปรดเกล้าฯ  ให้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีราชธานีเดิมมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำา
            เจ้าพระยาและได้วางยุทธศาสตร์ที่ตั้งที่ช่วยป้องกันข้าศึกพม่าที่ยังคงรุกรานราชธานีอย่างต่อเนื่องถึง 40 ปี



            ในฝั่งซ้ายของราชธานี   ได้โปรดให้สร้างพระบรมมหาราชวังขึ้นและรอบเมืองยังล้อมรอบไปด้วยป้อมปราการทางน้ำา
            จากแม่น้ำาเจ้าพระยาอีกด้วย  นอกจากนี้ยังได้สร้างกำาแพงเมืองขึ้นโดยใช้อิฐที่มาจากกรุงศรีอยุธยาที่ล่มสลาย แสดงให้
            เห็นถึงพระปรีชาที่ช่วยประหยัดเงินท้องพระคลังและยังเป็นสัญลักษณ์ของการสืบต่อความรุ่งเรืองในอดีตอีกด้วย



            ในอดีตที่ผ่านมา  ประเทศไทยได้ถูกปกครองโดยกษัตริย์หลากหลายพระองค์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ  หนึ่งในนั้นที่
            ทั่วโลกจดจำาเป็นอย่างดี คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 1851 - 1868)  พระองค์ทรงเป็น
            กษัตริย์ที่มีพระปรีชาอย่างยิ่งในการสร้างสันถวไมตรีกับชาวต่างชาติที่เข้ามาตั้งใจบ่อนทำาลายราชอาณาจักรไทย



            หนึ่งในความสำาเร็จในช่วงรัชกาลของพระองค์คือการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวให้กับสังคมและวัฒนธรรม  ก่อนที่พระองค์
            จะครองราชย์ พระองค์ได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุนานถึง 27 ปี และ  ทรงใช้เวลาในการฟื้นฟูคำาสั่งสอนทางพระพุทธ
            ศาสนาเพื่อให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องและขจัดความเชื่อที่งมงาย    ในหลากหลายแห่งที่ศาสนาได้เสื่อมสลายลงได้เปิด

            โอกาสให้ประเทศนักล่าอาณานิคมเข้ามารุกรานในประเทศไทย  ความแข็งแกร่งของความเชื่อทางศาสนาได้ช่วยพยุง
            ประเทศให้รอดพ้นจากการรุกรานของชาติมหาอำานาจในเบื้องต้น


            พระองค์ยังคงได้สร้างรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์และประชาชนใหม่ ในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพ

            สักการะเป็นอย่างสูงซึ่งห้ามให้ประชาชนสบตาหรือแม้แต่เอ่ยพระนามอย่างเด็ดขาด    แต่พระองค์กลับใช้หลักการ
            ปกครองอย่างเป็นประชาธิปไตย ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ทรงผนวชและได้ออกบิณฑบาตในทุกวัน ทำาให้พระองค์ได้ใกล้
            ชิดกับฆราวาสและได้ทำาให้พระองค์เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตประจำาวันของประชาชน    แบบอย่างและแนวปฏิบัติที่พระองค์
            ได้สร้างได้ถ่ายทอดไปยังพระโอรส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี1868-1910) ที่ได้เสด็จ

            ตรวจเยี่ยมโครงการสำาคัญของรัฐหลากหลายโครงการยังผลให้ภาพลักษณ์ของกษัตริย์มีความเป็นปุถุชนซึ่งไม่เคย
            เกิดขึ้นมาก่อนในอดีต


            นอกจากนี้    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้วางรากฐานในการรักษาอธิปไตยของไทยให้คงอยู่ในศตวรรษ

            ที่ 20 ในขณะที่เพื่อนบ้านอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ล้วนตกอยู่ภายใต้อาณานิคมยุโรป ซึ่งมีเพียงประเทศไทย
            เท่านั้นที่รอดพ้นจากชะตากรรมนี้


            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าได้ขยายการฑูตและสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีกับผู้นำาต่างประเทศ   พระองค์ยังได้ดึงผู้

            เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาการบริหารงานของประเทศ  ไม่ว่าจะเป็นการฝึกกองทัพทหาร
            และตำารวจ  การสร้างสถาบันการเงิน  การสร้างสาธาณูปโภคและการปรับปรุงรูปแบบการค้า  พระปรีชาสามารถของ
            พระองค์ในการจ้างชาวต่างชาติทำาให้มั่นใจได้ว่าการดำาเนินการต่างๆยังคงอยู่ภายใต้การบริหารงานของไทยและระบบ
            ที่ใช้นั้นได้ดำาเนินการอย่างเหมาะสมและสามารถส่งต่อความเชี่ยวชาญต่างๆไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งเป็นคนไทย
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16