Page 12 - ThaiVersion
P. 12

นอกจากนี้ พระองค์ยังได้ส่งพระโอรส 29 พระองค์ไปศึกษาต่อยังเมืองหลวงในต่างประเทศซึ่งเจ้านายหลายพระองค์ได้
            สร้างความประทับใจแก่บรรดาอาจารย์ผู้สอนในสติปัญญาที่เฉลียวฉลาดและการวางตัวที่เหมาะสม  หลังจากที่บรรดา

            พระโอรสกลับมาจากการศึกษาต่อได้ดำารงตำาแหน่งสำาคัญหลายกระทรวงที่ได้มีการจัดตั้งขึ้น  และที่สำาคัญไปกว่านั้น
            คือการที่บรรดาเจ้านายเหล่านี้ได้มีมิตรสหายในต่างประเทศ  ซึ่งเป็นรูปแบบแรกของการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์
            ที่ส่งผลดีต่อประเทศไทยในภายหลัง



            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ายังทรงโปรดปรานการท่องเที่ยวและได้เสด็จเยือนรัฐชวา  ประเทศอินเดียและยุโรปซึ่ง
            ทรงสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่ประเทศไทย ในครั้งที่พระองค์เสด็จเยือนยุโรปในปี 1897 และอีกครั้งในปี 1907  พระองค์
            ได้พบกับผู้นำาที่มีอำานาจทัดเทียมกัน  ซึ่งพระองค์ได้แสดงจุดยืนให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่เจริญแล้วและไม่
            ประสงค์การแทรกแซงใดๆจากต่างประเทศในฐานะพันธมิตรที่จะช่วยสร้างชาติ



            ในช่วงศตวรรษที่ 20 ได้นำาความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาสู่การปกครองของประเทศไทย ในปี 1932 ท่ามกลางกระแส
            ที่เรียกร้องให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปกครองประเทศได้ก่อให้มีการปฏิวัติการปกครองประเทศทำาให้ระบอบรา
            ชาธิปไตยที่ได้ปกครองมากว่า  700  ปีได้สิ้นสุดลง  และได้เปิดทางแก่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็น

            ประมุข นับตั้งแต่นั้นมา ประเทศไทยได้มีรัฐบาลทั้งที่มาจากการเลือกตั้งและแต่งตั้งเป็นผู้บริหารประเทศ


            เศรษฐกิจ



            ในช่วงสมัยอยุธยา ความมั่งคั่งของประเทศส่วนใหญ่เป็นผลมาจากสงครามเป็นหลัก  ทั้งนี้ความมั่งคั่งของประเทศไทย
            ในยุคสมัยใหม่เริ่มต้นประมาณปี 1782 ผ่านเกษตรกรรม การผลิตและการค้า  ถ้าไล่ดูจากแผนที่ ตั้งแต่เหนือจดใต้
            ของแม่น้ำาเจ้าพระยาคือร่องรอยของการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ  เริ่มต้นจากการทำาไร่เลื่อนลอยของบรรดา
            ชาวเขาทางเหนือที่สร้างผลผลิตทางการเกษตรที่หลากหลาย ในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางนั้นเป็นแหล่งเพราะปลูกข้าว

            อันอุดมสมบูรณ์      สภาพภูมิอากาศและความชื้นที่เหมาะสมทำาให้ไทยเป็นแหล่งเพาะปลูกทางการเกษตรชั้นดีและ
            เป็นหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกข้าวชั้นนำาของโลก  ถัดลงมาทางใต้ประมาณ  53  กิโลเมตรในบริเวณใกล้อ่าวไทยซึ่งเป็น
            ที่ตั้งของกรุงเทพอันเจริญรุ่งเรือง  เมืองหลวงของประเทศไทยได้เป็นตัวขับเคลื่อนสำาคัญต่อการพัฒนาประเทศไปสู่ยุค
            การพัฒนาอุตสาหกรรม    ในเขตชานเมืองของกรุงเทพได้กลายเป็นที่ตั้งของโรงงานซึ่งดึงดูดคนงานจากภาคชนบท

            เข้ามาเป็นแรงงาน  ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมนั้นได้มีส่วนในการสร้างรายได้หลักให้กับประเทศ  ภาคการผลิตได้สร้าง
            ผลผลิตมากมายไล่ตั้งแต่ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ไปจนถึงเสื้อผ้า    ชิ้นส่วนยานยนต์จนถึงผลิตภัณฑ์เคมีทั้งเพื่อ
            การบริโภคภายในประเทศและเพื่อการส่งออก  โรงงานตามชานเมืองได้มีบทบาทในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
            ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่มีมูลค่าเพิ่มเพื่อการส่งออก กรุงเทพได้กลายเป็นศูนย์กลางของประเทศและเป็นศูนย์กลาง

            ของการเงินและการลงทุนต่างๆ


            ภาคการเกษตรได้ครอบครองตลาดแรงงานถึง 41%  ในทุกวันนี้ ตัวเลขดังกล่าวได้ใกล้เคียงกับตัวเลขการจ้างงานในภาค
            บริการซึ่งส่วนใหญ่คือภาคการท่องเที่ยว    ในอดีตที่ผ่านมา  ข้าวคือพืชหลักของเกษตรกรรมไทยแต่หลังจากปี  1970

            เป็นต้นมา ได้เริ่มนำาพืชผักผลไม้ชนิดใหม่ๆเข้ามาปลูกมากขึ้น ทำาให้ไทยได้กลายเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทาง
            ด้านอาหารและโด่งดังไปทั่วโลก นอกจากนี้การเติบโตทางด้านอุตสาหกรรมอาหารทำาให้ประเทศไทยได้เริ่มเปลี่ยนจาก
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17