Page 15 - ThaiVersion
P. 15

โล้ชิงช้าขึ้นชิงช้าทีละ 4 คน และทำาการแกว่งชิงช้าเพื่อฉวยเงินรางวัลที่เป็นทองคำาที่ผูกแขวนไว้กับเสาสูง ซึ่งพิธีดังกล่าว
            ได้ถูกระงับไปในปี 1935 แต่มีแผนที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ในปัจจุบันซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น แน่นอนว่าพิธีนี้จะได้รับความสนใจ

            จากบรรดานักท่องเที่ยวอย่างแน่นอน  โปรตุเกสเป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เดินทางเข้ามาในเอเซียและได้เข้ามาติดต่อ
            กับกรุงศรีอยุธยา ในปี 1511 ในขณะที่ปิดล้อมเมืองท่ามะละกา  ดยุคแห่งอัลบูแกร์ได้ส่งส่งทูตพร้อมของบรรณาการเพื่อ
            เจริญสัมพันธไมตรีกับสยามตามปรากฎในบันทึกของโตเม ปิเรส (Tome Piris) นักเดินทางชาวโปรตุเกส ในหนังสือ
            “The Suma Oriental” ในปี 1515



            “ ... ดินแดนแห่งสยามมีขนาดกว้างใหญ่และเต็มไปด้วยบรรดาขุนนางและพ่อค้าต่างชาติจำานวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็น
            ชาวจีนเนื่องจากสยามได้ทำาการค้ากับชาวจีนเป็นจำานวนมาก  ซึ่งพวกเขาได้รับการยกย่องในด้านความรอบคอบและ
            การเป็นที่ปรึกษาที่ดี  ราชอาณาจักรถูกปกครองด้วยความยุติธรรมและพระมหากษัตริย์ทรงประทับอยู่ที่เมืองโยเดีย

            [อยุธยา]”


            สามปีถัดมาในปี ค.ศ. 1518  สยามและโปรตุเกสได้ลงนามในสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ซึ่งสยามได้ให้
            สิทธิ์โปรตุเกสในด้านศาสนาและการพาณิชย์  โดยฝ่ายโปรตุเกส  ได้สัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่

            สยามโดยสอนทหารชาวสยามให้รู้จักศิลปะในการสงครามและการสร้างป้อมปราการ  ในปี ค.ศ. 1536 ชาวโปรตุเกส
            จำานวน 120 คนได้เข้าร่วมรบโดยเป็นทหารอารักขาให้กับสมเด็จพระชัยราชาธิราช (ครองราชย์ปี ค.ศ.1534-1546)
            ชาวโปรตุเกสได้รับพระราชานุญาติให้สร้างบ้านเรือนและโบสถ์ในคริสต์ศาสนาในราชอาณาจักรอยุธยาและต่อมา
            ในกรุงเทพซึ่งตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำาใกล้สะพานพุทธและอีกจุดหนึ่งคือโบสถ์ซางตาครู้สซึ่งเป็นโบสถ์คาทอลิกได้ถูกสร้าง

            ขึ้นในปี  ค.ศ.  1770  อิทธิพลของโปรตุเกสที่มีต่อสยามอีกสิ่งหนึ่งที่สำาคัญ  คือ  ด้านการทำาขนมคาวหวาน  ซึ่งชาว
            โปรตุเกสเป็นผู้นำาสูตรการทำาขนมที่มีส่วนผสมของไข่แดงเข้ามาในไทย เช่น ขนมฝอยทอง อันโด่งดัง


            ชาวญี่ปุ่นในยุคแรกที่เข้ามาในสยาม  ได้เข้ามาเป็นกองกำาลังอาสา  ดังปรากฎในบันทึกสงครามยุทธหัตถีในปี  ค.ศ.

            1593  ที่มีกองกำาลังทหารญี่ปุ่นจำานวน  500  คนได้เข้าร่วมทำาสงครามกับพม่าในแผ่นดินของสมเด็จพระนเรศวร
            มหาราช  (ครองราชย์ปี  ค.ศ.  1590-1605)  ซึ่งกองอาสาญี่ปุ่นได้รับหน้าที่เป็นทหารทัพหน้าป้องกันสองกษัตริย์ใน
            สงครามบนหลังช้าง ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับญี่ปุ่นได้เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1621 ซึ่งจากพระราชสาส์นใน
            ปี 1626 ของพระเจ้าทรงธรรม(ครองราชย์ ปี ค.ศ. 1620-1628) ถึงรัฐบาลโชกุนแห่งตระกูล “โตกุกาวะ” ได้แสดง

            ถึงมิตรภาพระหว่างสองประเทศ  ตามเนื้อความตอนหนึ่งที่กล่าวว่า    “มหาสมุทรที่กว้างใหญ่ที่กั้นระหว่างสยามและ
            ญี่ปุ่นดูจะเป็นอุปสรรคต่อการติดต่อของสองชาติ อย่างไรก็ดี การค้าขายทางเรือที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำาเสมอได้ทำาให้ความ
            สัมพันธ์ระหว่างสองชาติแน่นแฟ้นขึ้น เป็นที่ประจักษ์อย่างชัดเจนว่า ท่าน [โชกุน] ได้มีไมตรีจิตอย่างแท้จริงให้กับชาว
            สยาม ไมตรีจิตที่จริงแท้ยิ่งกว่าสายสัมพันธ์ในตระกูลเสียอีก” ท่านโชกุนได้มีสาสน์ตอบกลับมาว่า “มิตรภาพระหว่าง

            สองชาติมิสามารถทำาลายลงได้  เพราะเราต่างอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อใจระหว่างกัน  มหาสมุทรที่กั้นขวางระหว่าง
            สองชาติหาได้มีความสำาคัญไม่”


            ภายในช่วงระยะเวลาหลายปี ชาวญี่ปุ่นได้เข้ามาสร้างชุมชนและอยู่อาศัยในสยามเป็นจำานวนมากถึงประมาณ 1,500 คน

            (บางข้อมูลคาดว่าน่าจะสูงถึง 7,000 คน) ส่วนใหญ่ได้ทำาการค้าขายโดยสินค้าญี่ปุ่นที่เป็นที่ต้องการของคนไทย คือ
            เงินเหรียญ ดาบ กล่องเคลือบ กระดาษคุณภาพสูง เป็นต้น ในช่วงศตวรรษที่ 17 มีซามูไรญี่ปุ่นมากถึง 5,000 คน
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20