Page 6 - ThaiVersion
P. 6

ประเทศไทยมีประชากรทั้งหมด 67 ล้านคน (ปี2013) ในจำานวนนี้ 1.5 ล้านคนได้เป็นผู้อพยพที่ได้มาตั้งถิ่นฐานใน
            เมืองไทย  ไทยคือชื่อที่ใช้เรียกชาติพันธุ์ไทย    (แต่อันที่จริงแล้วเป็นการผสมกันระหว่างคนหลากหลายชาติพันธุ์ไม่ว่า

            จะเป็นพม่า  ลาวหรือมาเลย์)  ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลักของประเทศ  ชาวจีนได้เริ่มเข้ามาในอาณาจักรสยามในช่วง
            ศตวรรษที่ 12 และได้เพิ่มจำานวนอย่างรวดเร็วเป็น 9 ล้านคนในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นชาติพันธุ์ที่ใหญ่
            ลำาดับสอง ทำาให้ประเทศไทยมีชุมชนชาวจีนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเลยทีเดียว



            สิ่งที่น่าสนใจคือการเข้ามาผสมผลานของชาติพันธุ์จีน   ซึ่งชาวจีนนั้นได้เข้ามามีบททบาทตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
            (ปี 1351-1767) และได้มีส่วนสร้างความมั่งคั่งให้กับเศรษฐกิจของสยามผ่านการค้าขาย  ชาวจีนจำานวนมากได้นิยม
            เปลี่ยนนามสกุลและได้ดำาเนินการขอสัญชาติเป็นพลเมืองไทยรวมถึงได้แต่งงานกับคนไทยอีกด้วย  ซึ่งการผสมผสาน
            ทางชาติพันธุ์อันหลากหลายนี้ทำาให้ยากต่อการทราบที่มาของชาติพันธุ์ดั้งเดิม



            ถัดจากกลุ่มชาวจีนคือกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ทางใต้ของประเทศซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายมาเลย์และนับถือศาสนาอิสลาม กลุ่มนี้
            มีสัดส่วนประมาณ  5%  ของประชากรซึ่งรวมถึงชาวอินเดีย  ปากีสถาน  ลาว  พม่าและเวียดนามที่ปะปนอยู่อีกด้วย
            นอกจากนี้ยังมีชนกลุ่มน้อยซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานจากพรมแดนทางเหนือของประเทศไทยเมื่อประมาณ  120  ปีก่อนซึ่ง

            แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มหลักซึ่งล้วนมีความต่างทั้งภาษา ความเชื่อทางศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณีแต่อยู่ร่วมกัน
            อย่างสันติสุข ภาพจากแผนที่ทางตอนเหนือได้แสดงที่ตั้งของชนกลุ่มน้อยทั้ง 6 กลุ่มนี้โดยแทนด้วยจุดสีที่ต่างกันละม้าย
            คล้ายคลึงกับภาพวาดที่ใช้เทคนิคการผสานจุดสีมากกว่าที่จะแบ่งแยกเป็นช่องๆแบบกระเบื้องโมเสก   เพื่อแสดงให้
            เห็นว่าไม่มีกลุ่มใดที่ครอบครองพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นหลักแต่ได้อยู่ปะปนกันระหว่างชนกลุ่มต่างๆ



            อาจกล่าวได้ว่าการให้คำานิยามของความเป็นคนไทยนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยทีเดียว ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่และสภาพ
            อากาศที่เหมาะสมที่ส่งผลต่อการเจริญงอกงามของพืชพันธุ์ได้เป็นสิ่งที่ดึงดูดให้ผู้คนเข้ามายังผืนแผ่นดินนี้  หลายศตวรรษ
            ที่ผ่านมา  ผู้คนได้เข้ามาและได้อยู่อาศัยจนชั่วลูกชั่วหลานและแนวโน้มนี้ยังคงเป็นอยู่จนถึงปัจจุบัน  นับรวมถึงชาวต่าง

            ชาติที่ได้เข้ามาใช้ชีวิตหลังเกษียนอายุอีกด้วย


            ประเทศไทยมีศาสนาที่คนส่วนใหญ่นับถือถึง 6 ศาสนาหลักของโลกด้วยกัน สังคมไทยขึ้นชื่อว่าค่อนข้างเคร่งกับความ
            เชื่อทางศาสนาเป็นอย่างมาก ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ (92%) นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท  ประมาณ 5%

            ของประชากรนับถือศาสนาอิสลาม  และส่วนที่เหลือนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน  ศาสนาคริสต์  ศาสนาฮินดู
            และศาสนาซิกข์  นอกจากนี้ยังมีลัทธิที่นับถือภูตผีวิญญาณซึ่งเป็นของชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ตามป่าเขา  หากยืนอยู่ที่
            สะพานพุทธและมองไปในรัศมี 500 เมตรจะเห็นทั้งวัดวาอาราม มัสยิด วัดจีน โบสถ์คาทอลิกและโบสถ์ซิกข์ปรากฎ
            อยู่รอบตัว แต่อย่างไรก็ตาม ไม่เคยปรากฎความขัดแย้งหรือการปะทะกันทางศาสนา



            ด้วยธรรมชาติของคนไทยที่ง่ายๆสบายๆจึงเป็นปัจจัยหลักที่สร้างความสำาเร็จให้กับการท่องเที่ยว  ความมีน้ำาใจของคน
            ไทยที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทุกสารทิศเป็นผลมาจากการหล่อหลอมทางชาติพันธุ์มาแต่ครั้งประวัติศาสตร์  ไม่ว่าจะ
            เป็นชนชาติเปอร์เซีย ชาวจีน ชาวแอฟริกันตอนเหนือ ชาวยุโรปและอื่นๆ  ศาตราจารย์ เดวิด เค. ไวอาจ (David

            K. Wyatt)  ศาสตราจารย์รับเชิญผู้เขียนหนังสือประวัติศาสตร์ไทยฉบับสังเขปที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายได้
            บรรยายถึงความเป็นไทยไว้อย่างเห็นภาพ    เมื่อครั้งที่ท่านได้รับเชิญให้ไปบรรยายที่สยามสมาคมเมื่อ  20  ปีที่แล้ว
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11