Page 45 - ThaiVersion
P. 45

นอกจากนี้  เรายังได้สร้างหลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากรด้านการท่องเที่ยว  โดยการร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์

                 มหาวิทยาลัยและต่อมามหาวิทยาลัยศิลปากรได้การฝึกอบรมไกด์ท่องเที่ยวมืออาชีพ


                 ผมได้นึกถึงสัญลักษณ์ที่จะเป็นตัวแทนของ  ททท.  และได้ตั้งคำาถามกับตัวเองว่าอะไรคือสัญลักษณ์ของเมือง
                 ไทยในสายตาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และได้พบคำาตอบจากภาพยนตร์เรื่อง “80 วันรอบโลก” (Around
                 the World in Eighty Days) ซึ่งแสดงนำาโดยเดวิด นิเวน (David Niven) ในฉากตอนที่พระเอกได้มา

                 เดินทางมาที่ประเทศไทยเผยให้เห็นถึงสองสถานที่หลัก คือ พระปรางค์วัดอรุณและเรือพระราชพิธีในแม่น้ำา
                 เจ้าพระยา  ซึ่งต่อมาได้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ซึ่งปรากฎเป็นภาพเครื่องบินเหนือวัดอรุณ  สื่อถึงการเดินทางมา
                 จากต่างประเทศ สัญลักษณ์นี้มีวงกลมล้อมรอบเป็นคำาว่า “องค์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” ในด้านล่าง

                 และมีตัวย่อว่า “อสท.”ในด้านบน

                 เพื่อสร้างภาพลักษณ์เมืองไทยในสายตาต่างชาติ ผมได้จัดทำาภาพยนตร์สารคดีการท่องเที่ยวไทย 3 เรื่องที่
                 เผยแพร่สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ  ได้แก่  วัดพระแก้ว  พระบรมมหาราชวัง  วัดวาอารามต่างๆ  ตลาดน้ำาและ
                 แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ



                 ททท. โดยความร่วมมือกับกรมศิลปากรได้ส่งคณะผู้แสดงรำาไทยไปแสดงที่ยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในนิวยอร์ก
                 ได้จัดแสดงที่อาคารร็อคกี้เฟลเลอร์พลาซ่า (Rockefeller Plaza) ซึ่งมีผู้ชมเป็นจำานวนมาก



                 นิตรสารรายเดือนหรือที่รู้จักในชื่อ “อนุสาร อสท.” ได้จัดพิมพ์เป็นภาษาไทย และยังได้มีการจัดทำานิตยสาร
                 รายเดือนฉบับภาษาอังกฤษที่ชื่อว่า “ฮอลิเดย์ไทม์ อิน ไทยแลนด์” (Holiday Time in Thailand) อีกด้วย
                 เพื่อให้คนไทยมีส่วนร่วมกับ  ททท.  ในการต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติและพัฒนาการให้บริการด้านดรง
                 แรมและร้านอาหาร    ททท.ได้จัดสัมมนาในจังหวัดเชียงใหม่  หาดใหญ่  ขอนแก่นและภูเก็ต  พัทยาได้เป็น

                 สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในหมู่คนต่างชาติมาอยู่แล้ว  ในขณะที่เชียงใหม่  มีชื่อเสียงในหมู่คนไทยเท่านั้น
                 เพื่อโปรโมทเชียงใหม่ ททท.ได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเชิงปฏิบัติการของพาต้า (PATA) ครั้งที่ 9 เมื่อวัน
                 ที่ 24 มกราคม 1969 ตามด้วยงานประชุมโลก (PATA World Congress) ในกรุงเทพ ในช่วงต้นเดือน

                 กุมภาพันธ์ 1969


                 ช่วงปี 1970 ผมได้เล็งเห็นศักยภาพการท่องเที่ยวของภาคใต้ ระหว่างทางจากหาดใหญ่ไปภูเก็ต ผมได้ดื่มดำา
                 กับทัศนียภาพทางธรรมชาติที่สวยงามของสงขลา พัทลุง ตรัง กระบี่ พังงา โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสวยงาม
                 ตามชายหาดในภูเก็ต มีศักยภาพในการเติบโตของรีสอร์ตชายทะเลอย่างยิ่ง อีกหนึ่งกิจกรรมประเพณีดั้งเดิม

                 ที่มีความสำาคัญอย่างยิ่ง คือ กระบวนพยุหยาตราชลมารค ททท.จึงได้ประสานกับราชนาวีสโมสรในการจัด
                 สร้างที่นั่งสำาหรับผู้ชม  ซึ่งรองรับได้ประมาณ  1,000  คนและได้ถูกจับจองจนเต็มทั้งหนึ่งพันโดยมีบรรดา
                 ช่างภาพมืออาชีพและสื่อมวลชนต่างชาติรวมด้วย  พวกเราได้รับความสำาเร็จอย่างยิ่งในการเผยแพร่ภาพที่

                 สวยงามและเป็นเอกลักษณ์ไปทั่วโลก  และยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่โดดเด่นและเชิญชวนให้ต่างชาติได้
                 เข้ามาสัมผัส
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50