Page 216 - การเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3 สค32032 (ม.ปลาย)
P. 216

ขณะเกิดไฟป่า

                           1.  ถ้ายังไม่มีเครื่องมือ หรือยังไม่มีเจ้าหน้าที่ดับเพลิงจากหน่วยควบคุมไฟป่าแล้ว อย่า

               เสี่ยงเข้าไปดับ เว้นแต่เป็นการลุกไหม้เล็กน้อยของไฟที่เกิดจากพวกหญ้าต่างๆ เช่น หญ้าคา หญ้า

               ขจรจบ หญ้าสาบเสือ

                           2.  ควรช่วยกันตัดกิ่งไม้สด ตีไฟที่ลุกไหม้ตามบริเวณหัวไฟให้เชื้อเพลิงแตกกระจาย

               แล้วตีขนานกับไฟป่าที่ก้าลังจะเริ่มลุกลาม

                           3.  ถ้ามีรถแทรกเตอร์ควรไถไร่อ้อยหรือต้นข้าวให้โล่งว่างเพื่อท้าให้เป็นแนวกันไฟ มิให้

               เกิดการติดต่อลุกลามมาได้

                           หลังจากเกิดไฟป่า

                           1. ตรวจดูบริเวณที่ยังมีไฟคุกรุ่น เมื่อพบแล้วจัดการดับให้สนิท

                           2. ค้นหาและช่วยเหลือคน สัตว์ที่หนีไฟออกมาและได้รับบาดเจ็บ

                           3. ระวังภัยจากสัตว์ที่หนีไฟป่าออกมา จะท้าอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้

                           4. ท้าการปลูกป่าทดแทน ปลูกพืชคลุมดิน ปลูกไม้โตเร็ว

                           5. รณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนให้รู้เรื่องวิธีการป้องกันไฟป่าด้วยการประชาสัมพันธ์

               การสอน การติดป้ายค้าเตือน



               กิจกรรมที่ 5.6  ให้เสนอแนวทางการป้องกันและการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดจากไฟป่า

               แนวตอบ   แนวทางการตามพระราชด้าริป่าเปียกมี 6 วิธีด้วยกัน คือ

                           1.  ท้าระบบป้องกันไฟไหม้ป่า โดยใช้แนวคลองส่งน้้าและแนวพืชชนิดต่าง ๆ ปลูกตามแนว

               คลอง
                           2.  สร้างระบบการควบคุมไฟป่าด้วยแนวป้องกันไฟ ป่าเปียก โดยอาศัยน้้าชลประทานและ

               น้้าฝน

                           3.  การปลูกต้นไม้โตเร็วคลุมแนวร่องน้้า เพื่อให้ความชุ่มชื่นค่อยๆทวีขึ้นและแผ่ขยาย

               ออกไปทั้งสองข้างของร่องน้้า ซึ่งจะท้าให้ต้นไม้งอกงามและมีส่วนช่วยป้องกันไฟป่าเพราะไฟป่า จะ

               เกิดขึ้นง่ายหากป่าขาดความชุ่มชื้น

                           4. การสร้างฝายชะลอความชุ่มชื่น หรือเรียกว่า "check Dam" ขึ้นเพื่อปิดกั้นร่องน้้า

               หรือล้าธารขนาดเล็กเป็นระยะๆเพื่อใช้เก็บกักน้้าและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้้าที่เก็บไว้จะซึมเข้

               ไปสะสมในดิน เพื่อท้าให้ความชุ่มชื่นแผ่ขยายเข้าไปทั้งสองด้านกลายเป็น "ป่าเปียก"







                                              ชุดวิชา การเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3 - 206
   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221