Page 219 - การเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3 สค32032 (ม.ปลาย)
P. 219

กิจกรรมที่ 6.3  บอกผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากหมอกควัน


               แนวตอบ   เมื่อร่างกายสูดดมหมอกควันเข้าสู่ร่างกายในระยะเวลาสั้น ๆ จะท้าให้เกิดผลกระทบ

               ระบบต่าง ๆ ของร่างกายคือ

                           1. ระบบตา เกิดอาการระคายเคืองตา ตาแดง แสบตา ตาอักแสบ

                           2. ระบบผิวหนัง ระคายเคืองผิวหนัง เกิดผื่นคันผิวหนัง

                           3. ระบบทางเดินหายใจเกิดอาการระคายเคืองเยื่อบุจมูก แสบจมูก ไอ มีเสมหะ แน่น

               หน้าอก หายใจมีเสียงหวีด หายใจถี่ และท้าให้เกิดโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบทั้งแบบเฉียบพลัน

               และเรื้อรัง ปอดอักเสบ ถุงลมโป่งพอง

                           4. ระบบหลอดเลือดและหัวใจ เกิดอาการแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก หายใจถี่ เมื่อยล้า สั่น

               ผิดปกติ ท้าให้เกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจตาย เส้นเลือดในสมองตีบ

                           ประชาชนทั่วไปที่มีสุขภาพแข็งแรงสูดดมหมอกควันเข้าสู่ร่างกายในระยะเวลาสั้น จะ

               สามารถปรับตัวและฟื้นฟูสภาพร่างกายได้อย่างรวดเร็ว และไม่เกิดผลกระทบต่อสุขภาพในระยะ

               ยาว แต่ในประชากรกลุ่มเสี่ยง เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ที่มีโรคประจ้าตัวเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ

               ระบบหัวใจและหลอดเลือดอาจมีอาการรุนแรง



               กิจกรรมที่ 6.4  อธิบายสถานการณ์หมอกควันในชุมชนของท่าน ตามประเด็นต่อไปนี้

                           ประเด็นที่ 1 ชุมชนของท่าน (หมู่บ้าน ต าบล อ าเภอ หรือจังหวัด) เคยเผชิญปัญหา

                                       จากหมอกควันหรือไม่ อย่างไร

                           ประเด็นที่ 2 หมอกควันในชุมชนของท่านเกิดจากสาเหตุอะไร

                           ประเด็นที่ 3 ท่านปฏิบัติอย่างไรเมื่อเผชิญกับหมอกควันในชุมชนของท่าน


               แนวตอบ  ประเด็นที่ 1 และ 2 ตอบตามสถานการณ์จริงของชุมชนของท่าน


                           ประเด็นที่ 3 ท่านปฏิบัติอย่างไรเมื่อเผชิญกับหมอกควันในชุมชนของท่าน

                           1. ดูแลตนเองหลีกเลี่ยงการออกก้าลังกายและการท้างานหนักที่ต้องออกแรงมากใน

               บริเวณหมอกควัน หากจ้าเป็นต้องอยู่ในบริเวณทีมีหมอกควันควรสวมแว่นตา เพื่อป้องกันการ

               ระคายเคืองตา และควรใช้หน้ากากอนามัยปิดปากและจมูก

                           2. ดูแลบุคคลที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เด็กเล็ก คนชรา และผู้ป่วยในครอบครัวอย่างใกล้ชิดและ

               หมั่นสังเกตอาการของผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง หากพบอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ รวมทั้งควรเตรียม

               ยาและอุปกรณ์ที่จ้าเป็นให้พร้อม



                                              ชุดวิชา การเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3 - 209
   214   215   216   217   218   219   220   221   222   223   224