Page 40 - หนูจะกินอะไรดี
P. 40

ฟื้นพลัง...                         การบริจาคโลหิต  ถือเป็นการต่อชีวิต
                                              ให้ใครอีกหลายคน สร้างบุญกุศลทั้งผู้ให้และผู้รับ

                                                  แต่รู้หรือไม่ว่าหลังบริจาคโลหิตแต่ละครั้ง
          หลังบริจาคโลหิต                     ทำไมร่างกายคนเรามักรู้สึกอ่อนเพลีย  เนื่องจาก
                                              ร่างกายเสียเลือดไปประมาณร้อยละ 8 ของน้ำหนักตัว
          ข้อมูล: ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี   หรือประมาณ  350–450  ซีซี  จากทั้งหมด
                                              ที่มีในร่างกายประมาณ 4,000–5,000 ซีซี
                                                  ในระยะ 1–2 วันแรก ผู้บริจาคโลหิตจึงควร
                                              ดื่มน้ำมากๆ เพื่อชดเชยน้ำเลือดที่เสียไปและไม่ควร
                                              ออกกำลังกายหนัก หรือทำกิจกรรมที่ต้องเสียเหงื่อ
                                              มากๆ เช่น การอบซาวน่า ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
                                              และหลังการบริจาคโลหิต  ไขกระดูกจะทำหน้าที่
                                              กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงที่มีคุณภาพดี
                                              ขึ้นมาทดแทน เพื่อให้ร่างกายมีปริมาณโลหิตเท่าเดิม
                                              ดังนั้น การดูแลเรื่องโภชนาการที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญ
                                                    กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ อาหารที่ไม่ควรขาด
                                              คือโปรตีนซึ่งได้จากถั่ว  เนื้อสัตว์  นม  ไข่  เต้าหู้
                                              โปรตีนเกษตร และงา
                                                    ควรกินยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กที่ได้รับ
                                              หลังบริจาคโลหิตวันละ  1  เม็ดจนหมด  จะช่วย
                                              สร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโลหิตจาง
                                                    ควรกินอาหารที่มีวิตามิน B สูง โดยเฉพาะ
                                              โฟเลตและวิตามิน  B12  ซึ่งอาหารที่มีโฟเลตสูง
                                              ได้แก่ ผักชนิดต่างๆ เช่น ถั่ว บร็อกโคลี ปวยเล้ง
                                              หน่อไม้ฝรั่ง ธัญพืชไม่ขัดสี ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท
                                              ส่วนวิตามิน B12 มีมากในอาหารประเภทเนื้อสัตว์
                                              เช่น ตับ ปลา เนื้อ อาหารทะเล
                                                    อาการอ่อนเพลียหลังบริจาคโลหิตอาจทำให้
                                              กินอาหารมากขึ้นและมีผลต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว จึง
                                              ควรระมัดระวังปริมาณอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล
                                              และไขมัน ที่ให้พลังงานสูงและหมั่นออกกำลังกาย
                                              อย่างสม่ำเสมอ
                                                  การดูแลตนเองหลังการบริจาคโลหิต
                                              ให้ถูกวิธีจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงเร็วขึ้น




                                                          กรมอนามัย ส่งเสริมให้คนไทยสุขภาพดี  39
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45