Page 210 - การเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3 สค32032 (ม.ปลาย)
P. 210

2.4  การไหลของดิน (Flows) เกิดจากดินชุ่มน้้ามากเกินไป ท้าให้เกิดดินโคลนไหล

               ลงมาตามที่ลาดชัน โดยการไหลของดินแบบนี้ ดินไหลอาจพัดพาเศษทราย ต้นไม้ โคลน หรือแม้น

               กระทั่งก้อนหินเล็ก ๆ ลงมาด้วยและหากการไหลของดินพัดผ่านเข้ามาหมู่บ้านก็อาจท้าให้เกิดความ

               เสียหายร้ายแรงได้

                             2.5 การถล่มแบบแผ่ออกไปด้านข้าง (Lataral Spreading) มักเกิดในพื้นที่ที่ลาดชัน

               น้อยหรือพื้นที่ค่อนข้างราบโดยเกิดจากดินที่ชุ่มน้้ามากเกินไปท้าให้เนื้อดินเหลว และไม่เกาะตัวกัน

               จนแผ่ตัวออกไปด้านข้าง ๆ โดยเฉพาะด้ายที่มีความลาดเอียงหรือต่้ากว่า


                           3. สาเหตุการเกิดดินโคลนถล่ม การเกิดดินโคลนถล่ม มีสาเหตุหลัก 2 สาเหตุ ได้แก่

                             3.1 สาเหตุที่เกิดตามธรรมชาติ ได้แก่

                                  - โครงสร้างของดินที่ไม่แข็งแรง

                                  - พื้นที่มีความลาดเอียงและไม่มีต้นไม้ยึดหน้าดิน

                                  - การเกิดเหตุการณ์ฝนตกหนักและตกนาน ๆ

                                  - ฤดูกาลโดยเฉพาะฤดูฝนส่วนส้าคัญท้าให้เกิดการอ่อนตัวและดินถล่ม

                                  - ความแห้งแล้งและไฟป่าท้าลายต้นไม้ยึดหน้าดิน

                                  - การเกิดแผ่นดินไหว

                                  - การเกิดคลื่นสึนามิ เป็นต้น

                             3.2  สาเหตุที่เกิดจากการกระท้าของมนุษย์

                                  - การขุดไหล่เขาท้าให้ไหล่เขาชันมากขึ้น

                                  - การบดอัดดินเพื่อการก่อสร้างก็อาจท้าให้ดินข้างเคียงเคลื่อนตัว

                                  - การสูบน้้าใต้ดิน น้้าบาดาลที่มากเกินไปท้าให้เกิดโพรงใต้ดินหรือการอัดน้้าลง

               ในดินมากเกินไปก็ท้าให้โครงสร้างดินไม่แข็งแรงได้
                                  - การถมดินบนสันเขาก็เป็นการเพิ่มน้้าหนักให้ดินเมื่อมีฝนตกหนักอาจท้าให้ดิน


               ถล่มได้
                                  - การตัดไม้ท้าลายป่าท้าให้ไม่มีต้นไม้ยึดเกาะหน้าดิน


                                  - การสร้างอ่างเก็บน้้าบนก็เป็นการเพิ่มน้้าหนักบนภูเขาและยังท้าให้น้้าซึมลงใต้
               ดินจนเสียสมดุล เป็นต้น










                                              ชุดวิชา การเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3 - 200
   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215