Page 228 - การเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3 สค32032 (ม.ปลาย)
P. 228

พนักงานลูกจ้างของกิจการนั้นๆ ถึงแม้ว่ากิจการอื่นๆ ที่ไม่ประสบพิบัติภัยโดยตรงยังสามารถ

               ด้าเนินงานอยู่ได้ ก็อาจมีปัญหาการขาดแคลนลูกค้า เนื่องจาก นักท่องเที่ยวเกิดความเกรงกลัว ไม่

               กล้าเดินทางมาเสี่ยงภัยอีก

                                3) ความเสียหายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  คลื่นสึนามิที่ซัดเข้า

               สู่ฝั่งด้วยพลังแรงและมีระดับยอดคลื่นสูงหลายเมตร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่

               ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนชายฝั่งได้มาก ซึ่งไม่สามารถประเมินค่าเป็นตัวเงินได้

               ตัวอย่างของความเสียหายที่ส้าคัญๆ  ได้แก่ ความเสียหายของปะการังใต้น้้า ซึ่งถูกคลื่นกระแทก

               แตกหักเสียหาย หรือถูกตะกอนและวัสดุต่างๆ ที่น้้าพัดพามาจากท้องทะเลและบนพื้นดิน ทับถม

               กันบนส่วนยอดของปะการัง  ความเสียหายของป่าชายเลนที่ถูกคลื่นซัดจนหักโค่น หรือหลุดลอยไป

               กับมวลน้้า การเปลี่ยนแปลงของแนวชายหาด โดยบางส่วนถดถอยเข้ามาในบริเวณชายฝั่ง

               เนื่องจากการกัดเซาะของพลังคลื่น และบางส่วนอาจรุกล้้าออกไปในทะเลจากการทับถมของ

               ตะกอนที่น้้าพัดพามา   การเปลี่ยนแปลงของบริเวณปากแม่น้้า ซึ่งอาจขยายกว้างออกหรือเคลื่อนที่

               ไปจากเดิม เนื่องจากพลังการกัดเซาะของคลื่นและการเปลี่ยนเส้นทางน้้าไหลจากปากน้้าออกสู่

               ทะเล  การมีซากปรักหักพังของสิ่งก่อสร้างตามบริเวณชายหาด ซึ่งท้าให้เกิดความสกปรก รกรุงรัง

               รวมทั้ง มีเศษขยะต่างๆ ที่คลื่นซัดมากองไว้เป็นจ้านวนมาก



               กิจกรรมที่ 8.2 จงบอกพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดสึนามิของประเทศต่างๆในโลก


               แนวตอบ   ส้าหรับพื้นที่เสี่ยงภัยในทวีปเอเชียและประเทศต่างๆ ในโลกที่มีโอกาสสูงในการเกิด

               เคลื่อนสึนามิได้ คือบริเวณที่แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนแบบมุดตัวและเกาะที่เกิดจากภูเขาไฟ หรือแนว

               ภูเขาไฟที่ผุดขึ้นมาคู่กับร่องลึกในบริเวณของมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณดังกล่าวนี้ในบางครั้งเรียกว่า

               “วงแหวนแห่งไฟ”
                           กลุ่มพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดสึนามิ เช่น เกาะซานโตรินี่ ประเทศกรีซ เมืองลิสบอน


               ประเทศโปรตุเกส เกาะกรากะตัวจุ ดเกิดแผ่นดินไหวที่หมู่เกาะอาลิวเชียน ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ
               ที่ถาโถมเข้าสู่ฮาวายและอะแลสกา ประเทศญี่ปุ่น มหาสมุทรอินเดีย และประเทศชิลี เป็นต้น















                                              ชุดวิชา การเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3 - 218
   223   224   225   226   227   228   229   230   231   232   233