Page 21 - การเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3 สค32032 (ม.ปลาย)
P. 21

เรื่องที่ 3 สถานการณ์การเกิดภัยแล้งในประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ในโลก


                        ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่ก าลังประสบภัยแล้งครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ

               หลายทศวรรษ หลายประเทศทั่วโลกก็ก าลังต่อสู้กับวิกฤตขาดแคลนน้ า ไฟป่าที่รุนแรงมากขึ้น

               ส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การเกิดภัยแล้ง


                        3.1 สถานการณ์ภัยแล้งในประเทศไทย

                            สถานการณ์ภัยแล้งในปัจจุบัน เป็นผลมาจากปริมาณน้ าต้นทุนในเขื่อนหลายแห่งต่ า

               ประกอบกับภาวะฝนทิ้งช่วง ซึ่งในเดือนตุลาคม 2556 ถึงเดือนเมษายน 2557  มีจังหวัดที่ได้รับ

               ผลกระทบและประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยภัยแล้ง ทั้งหมด 44 จังหวัด 311
               อ าเภอ 1,927 ต าบล 18,355 หมู่บ้าน แบ่งเป็นภาคเหนือ 13 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

               10 จังหวัด ภาคกลาง 7 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัดและภาคใต้ 7 จังหวัด โดยปัจจัยหลัก

               ที่ท าให้เกิดภาวะแล้งคือปริมาณฝน ที่ถึงแม้ว่าปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศในปี พ.ศ. 2556 จะสูง

               กว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 14 แต่กลับพบว่ามีฝนที่ตกบริเวณพื้นที่รับน้ าของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์

               ค่อนข้างน้อยที่สุดในรอบ 10 ปี ซึ่งรวมถึงน้อยกว่าปี พ.ศ. 2548 และ 2553 ที่ประเทศไทยเกิด

               ภัยแล้งรุนแรง
                            ส าหรับในปี พ.ศ. 2558 มีพื้นที่ประสบภัยกว่า 20 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งอยู่ทาง

               ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ เช่น จังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์

               ตาก น่าน ลพบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น ชัยภูมิ สกลนคร อ านาจเจริญ สุรินทร์ เป็นต้น เนื่องจาก

               ภัยแล้งนี้เกิดขึ้นช่วงกลางฤดูฝน คือตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม โดยรับอิทธิพล

               จากความแปรปรวนสภาพภูมิอากาศโลก จึงเรียกอีกนัยหนึ่งว่าเป็น “ภัยแล้งนอกฤดูกาล”

               ซึ่งภัยแล้งในลักษณะปัจจุบัน ท าให้ปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศต่ ากว่าค่าปกติราวร้อยละ 46
               ปริมาณน้ าต้นทุนทั้งประเทศค่อนข้างต่ าอยู่ที่ราวร้อยละ 45 ของปริมาณความจุเขื่อนทั้งประเทศ


                        3.2 สถานการณ์การเกิดภัยแล้งในประเทศต่าง ๆ ในโลก


                          เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงความแห้งแล้งที่เริ่มทวีความรุนแรงขึ้น

               ประเทศต่าง ๆ ในโลกที่ก าลังเผชิญความแห้งแล้งครั้งร้ายแรงซึ่งเป็นสถิติจากการรวบรวมของ

               ยูเอสเอทูเดย์ ได้แก่ บราซิล มลรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้และเกาหลีเหนือ

               ในรอบ 100 ปีประเทศยุโรปตอนใต้ เช่น สเปน และโปรตุเกส ก็ประสบกับปัญหาไฟป่าที่รุนแรง

               อย่างแสนสาหัสและนักวิทยาศาสตร์ยังคงคาดการณ์ว่า ปัญหาดังกล่าวจะยังคงด าเนินต่อไปและ

               อาจเพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ



                                              ชุดวิชา การเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3 - 11
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26