Page 16 - การเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3 สค32032 (ม.ปลาย)
P. 16

ที่โลกได้รับ การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค และการปะทุของภูเขาไฟ กิจกรรมบางอย่างของมนุษย์

               ยังถูกระบุว่าเป็นสาเหตุส าคัญของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศล่าสุดมักเรียกว่า “โลกร้อน”

                                  3)   การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ าทะเล คือ ระดับน้ าทะเลที่เพิ่มขึ้น บ่งชี้

               การเปลี่ยนแปลงอากาศเมื่ออุณหภูมิมหาสมุทรสูงขึ้น ได้ส่งผลให้ระดับน้ าทะเลที่สูงขึ้น หรือเรียกว่า

               Sea Level Rise มาจาก 2 สาเหตุหลัก คือ การขยายตัวของมวลน้ าทะเลจากที่อุณหภูมิสูงขึ้น

               (ประมาณร้อยละ 30) และการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ าทะเล เนื่องจากการละลายของธารน้ าแข็ง

               บนแผ่นดินและการละลายของน้ าแข็งขั้วโลก (ประมาณร้อยละ 55)


                                  4)  ภัยธรรมชาติ เช่น วาตภัย คือ ภัยจากลม หรือ พายุที่มีความรุนแรงจน

               ท าให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงในวงกว้าง ค าว่า วาตภัย เกิดจากค าสองค ามาผสมกัน คือค าว่า

               วาต ที่แปลว่า ลม และค าว่า ภัย ที่แปลว่า อันตรายวาตภัย สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ

               เช่น เกิดพายุหมุนเขตร้อน เช่น พายุไต้ฝุ่นและพายุโซนร้อน โดยเมื่อเกิดพายุ จะท าให้เกิดลมแรง

               สามารถพัดให้บ้านเรือนเสียหาย ต้นไม้และเสาไฟฟ้าหักโค่น ป้ายโฆษณาพังถล่ม ซึ่งเกิดอันตราย

               ต่อชีวิตและทรัพย์สิน แต่ถ้าพายุดังกล่าวเกิดในทะเล จะท าให้เกิดฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงพัดถล่ม

               ชายฝั่ง ซึ่งสามารถท าให้สิ่งปลูกสร้างที่อยู่ชายฝั่ง เรือประมงหรือเรือประเภทอื่น ๆ เสียหาย

               ในบางครั้งพบว่าเรือขนาดใหญ่พลิกคว่ าได้


                          แผ่นดินไหว คือ เป็นปรากฏการณ์สั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้

               อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเรือน

               ที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ

               โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะ สามารถเกิดจากการกระท าของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่

               เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่น

               เปลือกโลก (แนวระหว่างรอยต่อธรณีภาค) ท าให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน

               เคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้

               อยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือน


                              2.1.2 จากการกระท าของมนุษย์

                                  1) การท าลายชั้นโอโซน ชั้นโอโซนเป็นส่วนหนึ่งชั้นบรรยากาศของโลกที่

               ประกอบด้วยโอโซนในปริมาณมาก ชั้นโอโซนช่วยดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์

               ประมาณร้อยละ 97-99 ของรังสีทั้งหมดที่แผ่มายังโลก




                                               ชุดวิชา การเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3 - 6
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21