Page 196 - การเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3 สค32032 (ม.ปลาย)
P. 196

เฉลย/แนวตอบกิจกรรม

                                             หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ภัยแล้ง




               กิจกรรมที่ 1.1 อธิบายความหมาย ภัยแล้ง  ฝนแล้ง และฝนทิ้งช่วง

               แนวตอบ  ภัยแล้ง หมายถึง การขาดแคลนน้้าในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานาน ซึ่งเกิดขึ้นใน

               ช่วงเวลาที่อากาศมีความแห้งแล้งผิดปกติ น้้าในล้าน้้าคูคลองธรรมชาติลดลง รวมถึงความชื้นในดิน

               ลดลงด้วย ส่งผลให้เกิดความขาดแคลนน้้ากินน้้าใช้ จนก่อให้เกิดความแห้งแล้ง

                           ฝนแล้ง หมายถึง ความแห้งแล้งของลมฟ้าอากาศอันเกิดจากการที่ฝนน้อยกว่าปกติไม่

               เพียงพอต่อความต้องการ หรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล  ระยะเวลาที่เกิดความแห้งแล้งและความ

               กว้างใหญ่ของพื้นที่ที่มีความแห้งแล้งฝนแล้งที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากได้แก่ฝนแล้งที่เกิด

               ในช่วงฤดูฝนโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงฝนทิ้งช่วงที่ยาวนานระหว่างเดือนมิถุนายนต่อเนื่องเดือน

               กรกฎาคม

                           ฝนทิ้งช่วง หมายถึง ช่วงที่มีปริมาณฝนตกไม่ถึงวันละ 1 มิลลิเมตรติดต่อกันเกิน 15

               วัน ในช่วงฤดูฝน เดือนที่มีโอกาสเกิดฝนทิ้งช่วงสูงคือ เดือนมิถุนายนและกรกฎาคม



               กิจกรรมที่ 1.2 บอกความแตกต่างระหว่างฝนแล้งและฝนทิ้งช่วงมาพอสังเขป

               แนวตอบ  ฝนแล้งคือ ความแห้งแล้งของลมฟ้าอากาศอันเกิดจากการที่ฝนน้อยกว่าปกติไม่

               เพียงพอต่อความต้องการหรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ฝนทิ้งช่วง คือ ในช่วงฤดูฝน ปริมาณฝนตก

               ตกไม่ถึงวันละ 1 มิลลิเมตร ติดต่อกันเกิน 15 วัน



               กิจกรรมที่ 1.3 บอกสาเหตุของการเกิดภัยแล้ง


               แนวตอบ   สาเหตุของการเกิดภัยแล้ง ได้แก่

                           1. ปริมาณฝนตกน้อยเกินไป เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงติดต่อกันเป็นเวลานานหรือการ

               กระจายน้้าฝนที่ตกไม่สม่้าเสมอตลอดทั้งปี

                           2. ขาดการวางแผนในการใช้น้้าที่ดี เช่น ไม่จัดเตรียมภาชนะหรืออ่างเก็บน้้ารองรับ

               น้้าฝนที่ตก เพื่อน้าไปใช้ในช่วงขาดแคลนน้้า










                                              ชุดวิชา การเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3 - 186
   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201