Page 23 - ม้าก้านกล้วย
P. 23

วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์   2   โลกทัศน์ในรวมบทกวีนิพนธ์ ม้าก้านกล้วย...
             ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ก.ค. - ธ.ค. 2551                กีรติกานต์  บุญฤทธิ์และคณะ
             สวยงามและมีคุณค่าต่อสังคม เปรียบได้กับแสงตะวันที่สาดส่องให้ความสว่างไสว
             และอบอุ่นแก่โลกใน “ยามอรุณ”
                        ไพวรินทร์ใช้บุคคลวัตในการสดุดีความเป็นมิตรของธรรมชาติที่ร่วม
             ฝันและร้องเพลงกล่อมคน แม้ในยามที่ส่อว่า “พรุ่งนี้อาจไม่มีแล้ว” ใน “ฝันกล่อม
             เมือง” (124) พร้อมกับเสียดสีมนุษย์ด้วยปฏิทรรศน์ (paradox) ว่าต้อง “เดินฝ่า
             ชะตากรรม ของสติปัญญาแห่งตน” ความเปลี่ยนแปลงของโลกภายใต้เงื่อนไขของ
             กาลเวลา ในบท “เด็กและควายและโลก” (50) กวีจงใจให้ “กาลเวลา” มีมือเช่น
             มนุษย์เพื่อ “แกว่งโลกโยกและไกว” พร้อมทั้ง “บิดใบหน้ายุคสมัยให้เบี้ยวร้าว” อันสื่อ
             ถึงความทุกข์ในความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย  เมื่อควายเหล็กกำเนิดใช้แทน
             “ควายเนื้อ” ซึ่งความล้มตาย “เป็นเรื่องเล็ก” อันเนื่องมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจ
             แบบทุนนิยม  นอกจากนี้ไพวรินทร์ยังใช้อติพจน์ใน  “บทคร่ำครวญ”  (183)  เพื่อ
             เปรียบเทียบให้เห็นว่าน้ำตามหาชนมีพลังอำนาจในการทำให้ “ไฟเปลว” มอดดับลงได้
             อันสื่อความว่าในช่วงเวลาที่สังคมใกล้หายนะน้ำตาที่เกิดจากความโศกเศร้าด้วย
             ความสำนึกดี อาจมีพลังในการยุติความร้อนแรงของความโลภและโทสะ อันสร้าง
             ความเสื่อมทรามของสังคมได้ทันเวลา
                    คำถามเชิงวาทศิลป์เป็นกลวิธีที่กวีเปิดโอกาสให้ผู้รับสารใช้สติปัญญา
             ครุ่นคิดไตร่ตรอง เพื่อร่วมหาคำตอบไปพร้อมกับกวี ดังเช่นในบท “แม่ศรีคณิกา”
             (106-107)  กวีใช้คำถามต่อจากคำบอกเล่าในส่วนท้ายของแต่ละบทซ้ำ  ๆ  กัน
             ย้ำความโดดเดี่ยวของผู้ทุกข์ทนว่า “ฝันของแม่โรยร่วง  สนามหลวงเคยเศร้าไหม”
             “รักของแม่แสนงาม โคนมะขามรู้หรือไม่” “ใจของแม่พร้อมแจก  ใบตะแบกหรือ
             สนใจ”  และ  “โลกของแม่ทารุณ  โคนขนุนช่วยไฉน”  (เน้นโดยผู้วิจัย)  ในบท
             “บ้านตาย”  (78-81)  กวีแสดงบทครวญของคนพลัดบ้านที่ผูกพันกับถิ่นเกิดซึ่งยัง
             “งดงามในความทรงจำ”  เขามีคำถามเมื่อเพ่งแผนที่ประเทศไทย  เป็นคำถามถึง
             อนาคตว่า “ใจคนหนึ่งผู้เดียวดาย คิดถึงบ้านตาย แผนที่ประเทศไทยมีไหม” (เน้น
             โดยผู้วิจัย)  นั่นคือ  คำตัดพ้อต่อความรางเลือนที่ไม่อาจกำหนดแหล่งพักพิงอันจะ
             ยึดถือเป็นเรือนตายได้
                    ในบท “เจ้าสาวใบตอง” (57) มีคำถามท้ายเรื่องกระตุ้นเตือนให้ผู้อ่านย้อน
             คิดว่าบริโภคนิยมในวัฒนธรรมเมืองได้ทำลายวิถีชีวิตที่ดีงามเมื่อครั้งอดีตอย่าง
             สิ้นเชิงเสียแล้วหรือ  ดังบทประพันธ์ว่า
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28