Page 26 - ม้าก้านกล้วย
P. 26

วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์   32  โลกทัศน์ในรวมบทกวีนิพนธ์ ม้าก้านกล้วย...
         ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ก.ค. - ธ.ค. 2551                กีรติกานต์  บุญฤทธิ์และคณะ
                    ในบท  “เจ้าสาวใบตอง”  (56-57)  ไพวรินทร์แสดงให้เห็นวิถีชีวิต
         ชนบทที่ดำรงอยู่อย่างสมถะพอเพียงและตระหนักในคุณค่าของธรรมชาติ  โดยใช้
         “เจ้าสาวใบตอง”เป็นสัญลักษณ์แทนธรรมชาติอันบริสุทธิ์งดงามและวัฒนธรรมที่
         ดีงามในชนบท ที่ต้องแปรเปลี่ยนไปเนื่องจากการรุกล้ำด้วยความเจริญก้าวหน้าทาง
         เทคโนโลยีสมัยใหม่  ซึ่งไพวรินทร์ใช้ “เจ้าสาวพลาสติก” แทนวิถีชีวิตแบบสังคมเมือง
         ที่ห่างไกลจากธรรมชาติ ด้วยการยึดถือลัทธิบริโภคนิยมที่เน้นความสะดวกสบายใน
         การดำเนินชีวิต ส่วนบทประพันธ์ “รอยร่ายรำของข้าวค่ำและผักแว่น” (46-47) กวี
         ใช้ “ข้าวค่ำ”และ “ผักแว่น” เป็นสัญลักษณ์แทนทรัพย์สินอันเป็นผลผลิตจากแผ่นดิน
         ที่สามารถแบ่งปันกันได้ด้วยความรัก ความเมตตาปรานี และความพอเพียงที่ยังคง
         หลงเหลืออยู่ในวัฒนธรรมชนบท นอกจากนี้ในบท “ไหมแท้ที่แม่ทอ” (74-77) กวีใช้
         การทอผ้าแต่ละขั้นตอนด้วยความละเอียดอ่อน เป็นสัญลักษณ์แทนการเลี้ยงดูลูกด้วย
         จิตวิญญาณ ส่วน “ไหมแท้” ก็คือลูกที่สามารถสืบต่อตำนานคำสอนจากผู้เป็นแม่ เพื่อ
         ถักทอ “ผ้าชีวิตผืนใหม่” อันหมายถึงคนรุ่นถัดไปให้สามารถคงความเป็น “ไท” จาก
         ความชั่วร้ายทั้งปวง
                    เมื่อกล่าวถึงวิถีชีวิตในสังคมเมืองพบว่า  กวีมักสื่อให้เห็นถึง
         ความทันสมัยเจริญเติบโต ความสับสนวุ่นวาย และอันตรายที่มีอยู่รอบด้าน ดังเช่นใน
         บท “ม้าก้านกล้วย 3” (34-36) กวีสื่อให้เห็นว่าการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และ
         เทคโนโลยีมามีส่วนร่วมในกระบวนการผลิต เป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้คนชนบทที่
         ด้อยความรู้ ด้อยประสบการณ์ หรือที่กวีใช้สัญลักษณ์ว่า “ม้าเล็ก” ต้องประสบกับ
         ความทุกข์อย่างแสนสาหัส  เนื่องจากถูกตัดสิทธิและโอกาสในการทำงาน  ต้องมา
         ล้มตายพ่ายแพ้แก่ “ม้ายนต์” และ “ม้าใหญ่” อันหมายถึงเครื่องจักรกลสมัยใหม่
         ข้อความในบท “นักฝันแห่งมีนาคม” (112-115) ที่ว่า “สัตว์กลยนต์เหล็กตะลอน
         สัตว์เลือดเนื้อจร สุ่มเสี่ยงเคียงคอนกรีตคา” นั้นแสดงให้เห็นวิถีชีวิตในสังคมเมืองใน
         ยามค่ำคืนที่เต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย “สัตว์กลยนต์เหล็ก” แทนรถยนต์ที่วิ่งไปมา
         บนท้องถนนยามค่ำคืน ส่วน “สัตว์เลือดเนื้อ” หมายถึงผู้คนที่เดินเท้าร่อนเร่ไปตาม
         ท้องถนนในยามค่ำคืนอย่างไร้จุดหมาย
                    ไพวรินทร์ชี้ให้เห็นว่านอกจากธรรมชาติจะทำหน้าที่เกื้อกูลชีวิตมนุษย์
         และปลูกฝังคุณธรรมแก่มนุษย์ ในบทประพันธ์ “อารมณ์กรุงเทพ” (92-99) กวียัง
         แสดงบทบาทของธรรมชาติในการชำระล้างจิตใจมนุษย์ให้บริสุทธิ์ผ่องใส  โดยใช้
         แม่น้ำ “เจ้าพระยา” และ“พิรุณชาติ” เป็นสัญลักษณ์แทนการชำระล้างความสกปรก
   21   22   23   24   25   26   27   28