กศน.อำเภอบึงสามัคคี ทัศนศึกษาดูงานนอกสถานที่
วันที่ 21-23 สิงหาคม 2562 นางสาวรัศมี ศรีภิบาล นำคณะครู และนักศึกษาทัศนศึกษาเพิ่มพูนความรู้นอกสถานศึกษา จำนวน 30 คน เข้าชมโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ ตั้งอยู่ใน อ. ท่ายาง จ. เพชรบุรีโดย เกิดขึ้นจากความเอาพระทัยใส่ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ที่ทรงมีต่อเกษตรกรในการที่จะพัฒนาส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมให้ ประสบความสำเร็จและสามารถเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้อย่าง ยั่งยืน ประวัติที่มาของโครงการนี้ เริ่มตอนที่ตอนพระองค์ท่านประทับอยู่ ณ วังไกลกังวลแล้วมีชาวบ้านนำมันเทศมาถวาย ช่วงนั้นพระองค์ ต้องเสด็จกลับกรุงเทพ เลยรับสั่งให้ เจ้าหน้าที่นำหัวมันเทศนั้นไปวางไว้บนตาชั่งในห้องทรงงานจากนั้นก็เสด็จกลับกรุงเทพ เวลาล่วงเป็นเดือน เมื่อเสด็จกลับมาหัวหินทรงพบว่า มันเทศนั้นได้แตกใบ เลยตรัสว่า \"มัน อยู่ที่ไหนก็ขึ้น\"ดังนั้นจึงมีพระราชดำริให้จัดหาที่ดิน เพื่อทำโครงการด้านการเกษตร ปี พ.ศ. 2551 ก็ได้ซื้อที่ดินจำนวน 120 ไร่ และต่อมาในกลางปี 2552 ทรงซื้อที่ดินแปลงติดกันเพิ่มอีก ณ บ้านหนองคอไก่ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 250 ไร่ เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์รวบรวมพืชเศรษฐกิจนานาชนิด เพื่อเป็นแนวทางให้กับเกษตรกรโดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอท่ายางจังหวัดเพชรบุรี ที่มีพื้นที่ค่อนข้าง แห้งแล้ง ทรงพระราชทานพันธุ์มันเทศซึ่งงอกออกมาจากหัวมันที่ตั้งโชว์ไว้บนตาชั่งในห้องทรงงานที่วังไกลกังวล ให้นำมาปลูกไว้ที่ที่ดินแปลงนี้พระราชทาน ชื่อโครงการว่า \"โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ\" โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมโครงการนี้ด้วยพระองค์เอง มีพระตำหนักทรงงานที่ตั้งอยู่ภายในโครงการเป็นบ้านไม้สองชั้นเรียบง่ายที่ใช้ทรงงานและพักผ่อนพระอิริยาบถเมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมโครงการนี้ รวมถึงรถที่ทรงใช้ทรงงานก็จอดอยู่ภายในบริเวณพระตำหนักด้วยและ\"อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์\" ปัจจุบันสังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน.) เพื่อเทิดพระเกียรติองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสนองนโยบายการกระจายโอกาสในการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีดาราศาสตร์ อวกาศ และสิ่งแวดล้อม แก่นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชนทั่วประเทศอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ เปิดให้บริการฐานการเรียนรู้เป็น 3 กลุ่มการเรียนรู้ โดยจัดแสดงแยกอยู่ตามอาคารต่างๆ ได้แก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วย ฐานการเรียนรู้เปิดโลกคอมพิวเตอร์, ฐานเรียนรู้การคมนาคมและขนส่ง, ฐานการเรียนรู้เมืองเด็ก, ฐานการเรียนรู้เปิดโลกอนาคต, ฐานการเรียนรู้สวนวิทยาศาสตร์, บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย, ฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ, ฐานการเรียนรู้เปิดโลกพลังงาน, บ้านวิทยาศาสตร์, การเรียนรู้เทคโนโลยีเพื่ออาชีพ และการเรียนรู้โบราณสถานกลุ่มดาราศาสตร์และอวกาศ ประกอบด้วย ฐานการเรียนรู้ฟากฟ้า ณ หว้ากอ, ฐานการเรียนรู้มนุษย์กับดวงดาว, ฐานการเรียนรู้พระราชวงศ์ไทยกับดาราศาสตร์, ฐานการเรียนรู้รวมใจชาวประจวบ, ฐานการเรียนรู้ความเป็นไปในจักรวาลเรียนรู้เทคโนโลยีอวกาศและเอกภพ และฐานการเรียนรู้พระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย กลุ่มธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ฐานการเรียนรู้ธรรมชาติศึกษา, ฐานการเรียนรู้นกและแมลง, ฐานการเรียนรู้ทรัพย์จากแผ่นดินและสวนหิน, ฐานการเรียนรู้ระบบนิเวศและโลกของเรา ขุนเขา ทะเล ฐานการเรียนรู้พื้นที่ชุ่มน้ำ