ทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภาพปราชญ์
รายละเอียดข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนตำบลหินดาต
เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น
(นาย/นาง/น.ส./ชุมชน/กลุ่ม) กองนาง กองเกิด รหัสประจำตัวประชาชน
บ้านเลขที่ 220/1 หมู่ที่ 3 ตำบลหินดาต อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร
รหัสไปรษณีย์ 62120 โทรศัพท์ 081 – 534-8190 โทรสาร
E-mail address
เป็นปราชญ์ชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขา
£ อาหารและโภชนาการ £ ศาสนา ประเพณี และพิธีกรรม
£ เกษตรกรรมและการทำมาหากิน £ ภาษาและวรรณกรรม
R ศิลปหัตถกรรมและสิ่งทอ £ ศิลปะการแสดงและดนตรี
£ ประวัติศาสตร์และโบราณคดี £ กีฬาและการละเล่นพื้นบ้าน
£ การแพทย์แผนไทยและสมุนไพร
ที่มา
เริ่มหมู่บ้านเริงกะพง เป็นหมู่บ้านที่อพยพมาจากอีสาน และยึดถือขนมธรรมเนียม และวัฒนธรรมของอีสาน มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก มีการเลี้ยงไหม เพื่อไว้ใช้ในครัวเรือน และใช้เป็นเครื่องแต่งกาย เวลามีงานพิธีสำคัญต่างๆ โดยการเลี้ยงไหม ก็จะเลี้ยงกันแบบวิธีธรรมชาติ สายพันธุ์ดั้งเดิม และการย้อมเส้นไหม ในการทอผ้าก็จะใช้วัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นในการย้อม และการมัดมี่ก็ยังคงไว้ในลวดลายเดิมๆ ที่เคยใช้กันมาต่อมา พ.ศ. 2537 ในตำบลหินดาต มีโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมาเยี่ยมชม โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ทางผู้นำหมู่บ้าน โดยนายพล ขวัญพงษ์ และชาวบ้านอยากแสดงความจงรักภักดีต่อท่าน จึงเข้ารับเสด็จและได้นำผ้าไหมทอมือไปถวายท่าน และเป็นที่พอพระทัยมากท่านจึงได้สนับสนุน โครงการปลูกหม่อน โดยให้ไปอบรมเพิ่มความรู้ในการเพาะพันธุ์ , ย้อมสี, การมัดหมี่สายใหม่, ที่ศูนย์หม่อนไหมจุน จังหวัดตาก และได้กลับมาพัฒนาความรู้ที่มีอยู่แต่ดั้งเดิม ผสมผสานกับความรู้ใหม่ๆ ที่ได้รับ เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน เป็นสินค้า OTOP ระดับ 4 ดาว เพื่อออกจำหน่ายตามศูนย์แสดงสินค้าและงานต่างๆ จนได้รับตรานกยุงพระราชทาน จากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
ปัจจุบันชาวบ้านก็ยังคงอนุรักษ์ และสืบสานวัฒนธรรมการทอผ้าทอไหม ด้วยมืออย่างต่อเนื่องและคิดค้นลายใหม่ๆ และผลิตภัณฑ์ใหม่ออกจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้คงอยู่ต่อไป
องค์ความรู้
· วิธีการทอผ้า
ปัจจุบัน ถึงแม้ว่ายังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดบ่งบอกถึงต้นกำเนิดของการ ทอผ้า แต่ก็สามารถเทียบเคียงกับหลักฐานอื่น ๆ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันโดย มีเหตุผลหลายอย่างสนับสนุนแนวคิดที่ว่า การทอผ้ามีวิวัฒนาการมาจากการทำเชือก ทอเสื่อ และการจักสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลายเชือกทาบที่ปรากฏ ร่องรอยให้เห็นบนภาชนะดินเผา ซึ่งพบเป็นจำนวนมากตามแหล่งโบราณคดี ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ เรื่อยมาจนถึงแหล่งโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้เอง จึงกล่าวได้ว่าการทอผ้าเป็นงานหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกงานหนึ่ง
หลักของการทอผ้า ก็คือการทำให้เส้นด้ายสองกลุ่มขัดกัน โดยทั้งสอง พวกตั้งฉากกัน เส้นด้ายกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายยืนและอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายพุ่ง ลักษณะของการขัดกันของด้ายพุ่งและด้ายยืน จะขัดกันแบบธรรมดาที่เรียกว่าลายขัดหรืออาจจะเพิ่มเทคนิคพิเศษเพื่อให้ผ้ามี ลวดลาย สีสันที่สวยงามแปลกตา
· ขั้นตอนในการทอผ้า
1. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง
2. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ
3. การกระทบฟันหวี ( ฟืม ) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบ ฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา
4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บใน แกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ ่ให้พอเหมาะ
การทอผ้าพื้น
เป็นการใช้หลักการทอผ้าเบื้องต้น ที่นำเอาด้ายเส้นยืนและด้ายเส้นพุ่งมาขัดกัน เพื่อให้เกิดเป็นผืนผ้า โดยด้ายเส้น พุ่งและเส้นยืนอาจเป็นด้ายสีเดียวกัน หรือต่างสีกัน หรือนำเอาเส้นด้ายที่เป็นดิ้นเงินหรือดิ้นทองมาทอควบด้าย เพื่อให้ผ้า มีความมันระยับ สวยงามยิ่งขึ้น
เทคนิคพิเศษที่ใช้ในการทอผ้า
· การขิด
ขิด หมายถึง กรรมวิธีในการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ ขึ้นมา โดยวิธีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษในระหว่างการ ทอ เพื่อให้เกิดลวดลายที่โดดเด่นกว่าสีพื้น วิธีการทำคือ ใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิด เพื่อช้อนเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่ง ไปตามแนวที่ถูกจัดช้อน จังหวะการสอดเส้นด้ายพุ่งนี่เอง ที่ทำให้เกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ
การจก
เป็นเทคนิคการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ โดยเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษสอดขึ้นลง วิธีการคือ ใช้ขนเม่น ไม้ หรือนิ้ว สอดเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่งพิเศษเข้าไป ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นลวดลายเป็นช่วง ๆ สามารถทำสลับสีลวดลายได้หลากสี ซึ่งจะแตกต่างจากการขิดตรงที่ขิดที่เป็นการใช้เส้นด้ายพุ่งพิเศษเพียงสี เดียว การทอผ้าวิธีจกใช้เวลานานมากมักทำ เป็นผืนผ้าหน้าแคบใช้ต่อกับตัวซิ่น เรียกว่า “ ซิ่นตีนจก ”
· การทอมัดหมี่ (ผ้าไหมมัดหมี่ เป็นสินค้า OTOP ระดับ 4 ดาว)
ผ้ามัดหมี่มีกรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัดและการย้อม เริ่มจากนำเส้นด้ายหรือไหมมาย้อมสีแล้วมัดบริเวณที่ ต้องการเก็บไว้ เมื่อนำไปย้อมสีอื่นจะได้ไม่ติดสี เพียงซึมเข้ามาบางส่วน โดยย้อมเรียงลำดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบ ตามลวดลายที่กำหนด หลังจากนั้นจึงนำด้ายกรอเข้าหลอดตามลำดับ แล้วนำไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มีลักษณะคลาดเคลื่อนเหลื่อมล้ำ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมัดหมี่ การทอผ้าชนิดนี้จึงต้องอาศัยความชำนาญในการมัดย้อมและทอเป็นอย่างมาก ผ้ามัดหมี่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่
1. มัดหมี่เส้นพุ่ง
2. มัดหมี่เส้นยืน
3. มัดหมี่เส้นพุ่งและเส้นยืน
· การทอผ้ายก
เป็นกรรมวิธีการทอให้เกิดลวดลายโดยการยกตะกอแยกด้ายเส้นยืน และในบางครั้งการยกดอกจะมีการเพิ่มด้ายเส้น พุ่งจำนวนสองเส้น หรือมากกว่านั้นเข้าไปในผืนผ้า ลวดลายที่ทอจะเป็นลายที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม และความเชื่อทางศาสนา ซึ่งได้แก่ ลายปราสาท ลานธรรมาสน์ ลายสัตว์ ลายพืช ลายจากสิ่งของเครื่องใช้ และลายเรขาคณิต
ลักษณะการถ่ายทอดภูมิปัญญา
- เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ แก่เด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไป
- แหล่งเรียนรู้แก่ผู้สนใจ