Page 179 - การเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 2 สค22019 (ม.ต้น)
P. 179

แนวตอบกิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 4 ดินโคลนถล่ม



               กิจกรรมที่ 4.1



                        1.  ดินโคลนถล่ม เป็นปรากฏการณ์ที่ส่วนของพื้นดิน ไม่ว่าจะเป็นก้อนหิน ดิน ทราย โคลน

               หรือเศษดิน เศษต้นไม้ เกิดการไหล เลื่อน เคลื่อน ถล่ม พังทลาย หรือหล่นลงมาตามที่ลาดเอียง

               อันเนื่องมาจากแรงดึงดูดของโลก ในขณะที่ส่วนประกอบของชั้นดิน ความชื้นและความชุ่มน้ าในดิน

               เกิดเสียสมดุล


                        2. สาเหตุของการเกิดดินโคลนถล่ม มีดังนี้


                          1) สาเหตุที่เกิดตามธรรมชาติ เช่น การสึกกร่อนของชั้นหินใต้ดิน พื้นที่ที่ลาดเอียง

               การที่ต้นไม้ถูกท าลายโดยไฟป่า หรือความแห้งแล้ง หรือเกิดน้ าท่วมฉับพลัน

                          2)  สาเหตุที่เกิดจากการกระท าของมนุษย์ เช่น  การที่มนุษย์ขุดพื้นดินตามบริเวณ

               ไหล่เขา ที่ลาดหรือเชิงเขาเพื่อการเกษตรหรือท าถนนหนทาง การกระเทือนต่าง ๆ เช่น การระเบิด

               หิน การระเบิดดิน การขุดเจาะน้ าบาดาล

                          ปัจจัยของการเกิดดินโคลนถล่ม มีดังนี้

                          1) สภาพธรณีวิทยา  โดยปกติชั้นดินที่เกิดการถล่มลงมาจากภูเขา เป็นชั้นดินที่เกิดจาก

               การผุกร่อนของหินให้เกิดเป็นดิน ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของหินและโครงสร้างทางธรณีวิทยา

                          2) สภาพภูมิประเทศ ที่ท าให้เกิดดินถล่มได้ง่าย ได้แก่ ภูเขาและพื้นที่ที่มีความลาดชัน

               สูง หรือมีทางน้ าคดเคี้ยวจ านวนมาก นอกจากนั้นยังพบว่า ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นร่องเขา

               ด้านหน้ารับน้ าฝน และบริเวณที่เป็นหุบเขากว้างใหญ่สลับซับซ้อนแต่มีล าน้ าหลักเพียงสายเดียว

               จะมีโอกาสเกิดดินถล่มได้ง่ายกว่าบริเวณอื่น ๆ

                          3) ปริมาณน้ าฝน ดินถล่มจะเกิดขึ้นเมื่อฝนตกหนักหรือตกต่อเนื่องเป็นเวลานาน

               น้ าฝนจะไหลซึมลงไปในชั้นดินจนกระทั่งชั้นดินอิ่มตัวด้วยน้ า ท าให้ความดันของน้ าในดินเพิ่มขึ้น

               เป็นการเพิ่มความดันในช่องว่างของเม็ดดิน ดันให้ดินมีการเคลื่อนที่ลงมาตามลาดเขาได้ง่ายขึ้น

                          4) สภาพสิ่งแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยพบว่าพื้นที่ที่เกิดดินโคลนถล่มมักเป็นพื้นที่

               ภูเขาสูงชัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบต่าง ๆ










                                              ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 2 -  169
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184