Page 9 - ม้าก้านกล้วย
P. 9

วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์   15  โลกทัศน์ในรวมบทกวีนิพนธ์ ม้าก้านกล้วย...
             ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ก.ค. - ธ.ค. 2551                กีรติกานต์  บุญฤทธิ์และคณะ
                    1.2  คุณค่าในวัฒนธรรมชนบท
                    ในภาวการณ์ที่จิตใจของผู้คนถูกอำนาจเงินคุกคามจนไม่อาจธำรงศักดิ์ศรี
             ความเป็นมนุษย์ไว้ได้ กวียังศรัทธาในคุณค่าของวัฒนธรรมชนบทว่าจะสามารถกอบกู้
             คุณค่าทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ดังในบท “รอยร่ายรำของข้าวค่ำและผักแว่น”  (46-47)
             ไพวรินทร์ได้แสดงให้เห็นว่ามิตรภาพ  ความรักและความมีน้ำใจ  ยังเป็นคุณธรรม
             สำคัญในการคลี่คลายปัญหา เห็นได้ว่าการให้ของคนจนด้วยกันโดยไม่คิดว่าเป็นผู้อื่น
             ถึงเป็นคนแปลกหน้าก็นับญาติกันได้ เป็นสิ่งผดุงชีวิตให้ดำรงอยู่ได้ท่ามกลางความ
             ขาดแคลนทางวัตถุ ใน “ผู้มาใหม่-ผู้ไปก่อน” (70-73) กวีได้แสดงความปรารถนาดี
             และความมีน้ำใจระหว่างเพื่อนต่างรุ่นต่างวัย  โดยกล่าวถึงการรับช่วงเวลาในการ
             ใช้ชีวิต ซึ่งเกื้อกูลด้วยธรรมชาติและการงานแห่งชาวนา
                    ในกวีนิพนธ์บางบทไพวรินทร์แสดงให้เห็นว่าหากขจัดความรู้สึกอยากได้
             อยากมีสิ่งที่ฟุ้งเฟ้อเกินจำเป็นชีวิตก็จะผาสุกได้  ดังในตอนต้นของบท  “เจ้าสาว
             ใบตอง” (56-57) ไพวรินทร์แสดงให้เห็นความสุขจากการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงและ
             กลมกลืนกับธรรมชาติ ดังที่ชาวไร่ชาวนา “ขอ” ใบตองมาเพียง “พอห่อข้าวขาว”
             คุณธรรมที่สั่งสมในวิถีชีวิตของชาวชนบทเป็นศักดิ์ศรีที่ส่งทอดแก่เยาวชน ความรัก
             กำลังใจ  และคำสอนของบุพการีจึงมีคุณค่า ดังเช่นในบท “ม้าก้านกล้วย 1” (26-28)
             “ม้าก้านกล้วย 2” (30-32) และ “ไหมแท้ที่แม่ทอ” (74-77) กวีได้แสดงให้เห็นว่า
             คำสอนของบิดามารดาที่สร้างสมตั้งแต่วัยเยาว์  อาจเป็นกำลังใจอันยิ่งใหญ่ที่
             หล่อหลอมให้ลูกมีสภาพจิตใจแข็งแกร่งในการยืนหยัดเผชิญอุปสรรคอย่างทระนง
             ใน “เจ้าต้นกล้าไปรบ” (52-54) กวีชี้ว่าความรัก ความผูกพัน และคุณค่าในคำสอน
             ของบุพการีเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างความฝันเพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีงามในการ
             ดำเนินชีวิตของลูก ไม่ว่า “เจ้าต้นกล้า” ต้องเผชิญกับความเลวร้ายของสังคมยุคใหม่ที่
             ผู้คนมีจิตใจตกต่ำ เขาก็ยังคงยืนหยัดรักษาศักดิ์ศรีของคนชนบทหรือ “เกียรติภูมิลูก
             ทุ่ง”  ไว้อย่างถึงที่สุด  นั่นคือการต่อสู้ด้วย  “หนึ่งสมองสองมือซื่อตรง”  และความ
             “กล้าหาญ”

                    1.3  อุดมคติในชีวิต
                    นอกจากการวิพากษ์วิจารณ์ชีวิตและสังคมในยุคพัฒนาเศรษฐกิจ  กวียัง
             แสดงแนวทางอันเป็นเป้าหมายแห่งชีวิตหรืออุดมคติของชีวิตเอาไว้ นั่นคือการต่อสู้
             โดยไม่ละทิ้งความฝันและความหวัง  และการต่อสู้เพื่อธำรงศักดิ์ศรีและความเป็น
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14